1 ขอถามเรื่อง nokia30 ครับ ว่า ถ้าเอามาต่อเพื่อเล่น internet กับ computer จะใช้งานดีมั้ย เปรียบเทียบกับ มือถือ nokia n70 ซึ่งผมใช้อยู่ อะไรจะดีกว่ากัน
2 หรือผมจะต่อ มือถีอ nokia n70 ต่อเข้าโดยตรงกับ dreambox ได้หรือไม่ และจะดีหรือ แย่กว่า pp link ครับ ขอคำแนะนำด้วยครับ
ตอบคุณ koko
1.ใช้ Nokia N70 เชื่อมต่อ Internet ได้ดีกว่า Nokia30 ครับ เนื่องจาก N70 รองรับ GPRS Class10 และ EDGE ส่วน Nokia30 รองรับ Class8 ซึ่งจะทำการ UP-DOWN ช้ากว่าครับ
2.ใช้ Nokia N70 ต่อเข้ากับ Dreambox โดยตรงไม่ได้ครับ เนื่องจาก Dreambox สามารถเชื่อมต่อ Internet ได้ 2 ช่องทางเท่านั้นคือ com port (RS232) และ LAN(RJ45) อ้างอิงจากรุ่น DM500-S ซึ่งจะไม่รองรับ Port USB แต่สามารถทำได้โดยใช้วิธีเชื่อมต่อกับ Computer และแชร์ Internet ผ่านมาทาง Port LAN อาจจะยุ่งยากซะหน่อยครับสำหรับวิธีนี้ ส่วนเรื่องการเปรียบเทียบ N70 กับ PP Link นั้นผมเองไม่มั่นใจใน รายละเอียดของตัว Board ภายในของ PP Link ว่าใช้เป็นรุ่นใดและรองรับ GPRS Class ไหน ถ้าสมมุติว่าเป็น Class 8 เหมือนกับ Nokia 30 ตัว N70 จะเชื่อมต่อได้ดีกว่า ทั้งนี้ต้องขึ้นพื้นที่ผู้ให้บริการว่ารองรับได้แค่ไหน เช่นพื้นที่ให้บริการ EDGE ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะให้บริการในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลหรือในตัวเมืองใหญ่ที่สำคัญตามจังหวัดต่างๆ ส่วน GPRS จะใช้ได้เกือบทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ยังไงคุณkoko ลองสอบถามข้อมูลพื้นที่ให้บริการของแต่ละค่ายว่าเป็นอย่างไร อีกครั้งครับ
ด้านล่างนี้เป็นคาวมรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ เทคโนโลยี CSD/GPRS/EDGE อ้างอิงข้อมูลจาก NECTEC ครับ
CSD/GPRS/EDGE
เส้นทางการรับส่งข้อมูลของฝั่ง GSM
เครือข่าย GSM มีมาตรฐานการพัฒนาที่ชัดเจนในเรื่องการให้บริการของทางฝั่ง Data ที่นับวันยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นๆทุกวัน วันนี้เราก็เลยมาพาไปรู้จักกับวิวัฒนาการของบริการข้อมูลทางฝั่ง GSM กัน GSM ที่ว่าเนี่ยเป็นชื่อระบบนะคะ ไม่ใช่ชื่อผู้ให้บริการอย่างที่เราติดปากเรียกกัน เป็นระบบที่คนไทยเกิน 80% ใช้อยู่ ซึ่งระบบGSM Digital นี้ไม่ได้มีเพียงการผสมคลื่นความถี่ระหว่างคลื่นเสียงกับคลื่นวิทยุเพียงอย่างเดียว แต่จะมีการเข้ารหัส Digital ด้วย จึงทำให้ระบบ GSM เป็นระบบที่รองรับระบบเทคโนโลยีการส่งข้อมูลต่างๆที่กำลังจะพูดถึงต่อไปนี้
CSD
การให้บริการด้านข้อมูลของตลาดทางฝั่ง GSM นั้นเริ่มมาจากยุคของ CSD ซึ่งการทำงานนั้นจะเป็นการแปลงสัญญาณเสียงมาเป็นข้อมูล CSD(Circuit Switched Data) เป็นคลื่นสัญญาณตัวเดียวกันกับคลื่นของโทรศัพท์มือถือที่เราใช้ในการพูดคุยกันตามปกติ มีความเร็วอยู่ที่ 9.6 kbps ในการใช้งานแต่ละครั้งก็จะเหมือนการคุยโทรศัพท์ ถ้าเทียบเป็นท่อ (bandwidth) ผู้ให้บริการก็จะมีหลายๆท่อให้ใช้บริการ เวลาจะใช้ CSD แต่ละครั้งเราก็จะครอบครองท่อนั้นเพียงคนเดียว ซึ่งเป็นจุดเด่นสำหรับ CSD ที่ได้เปรียบการบริการอื่นๆตรงที่ไม่ต้องแชร์กับใคร ความเร็วในการวิ่งขึ้นอยู่กับเราเพียงคนเดียว แต่ข้อเสียหลักๆก็คือ การส่งข้อมูลนั้นช้าไปสำหรับจะส่งข้อมูล Data เหมาะที่จะใช้กับข้อมูลเสียง (Voice) หรือการสนทนามากกว่า
GPRS
GPRS (General Packet Radio Services) เป็นเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลบนเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ สามารถรองรับการให้บริการที่เพิ่มมากขึ้นกว่าระบบ CSD และ SMS เดิมได้มีความเร็วสูงขึ้นถึง 10 เท่า มีการทำงานในแบบ Packet Switching ส่งข้อมูลหลายๆตัวไปในช่องเดียวและเชื่อมต่อตลอดเวลา (Always On-Always Connected) มีความเร็วประมาณ 40 - 171.2 Kbps ในช่วงเวลาที่วิ่งทั้ง 8 ช่วง timeslot GPRS ทำให้เกิดการให้บริการหลายๆด้านเพิ่มขึ้นมา เช่นการเข้าถึง Internet} การรับส่งข้อมูล, การดาวน์โหลดต่างๆ ,การสนทนาโต้ตอบแบบ Interactive (Live Chat) รวมไปถึงการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน GPRS ถือว่าได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน นอกจากการพัฒนาทางเครือข่ายแล้วคงจะต้องเป็นผลมาจากการพัฒนาตัวเครื่อง (Handset) เองด้วยที่พัฒนากันอย่างไม่หยุดยั้ง มีโทรศัพท์จำนวนมากที่รองรับการให้บริการ GPRS นี้ เป็นการย่อโลกให้เล็กลง ทำให้เราสามารถสัมผัสได้ถึงความสะดวกสบาย การเข้าถึงสื่อต่างๆและมัลติมีเดียได้อย่างรวดเร็วและทันเหตุการณ์
EDGE
EDGE (Enhanced Data Rates for Global Evolution) เป็นทางเบี่ยงก่อนเข้ายุค 3G (Third generation) เป็นเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลบนเครือข่ายที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาจาก GPRS โดยบริษัท อีริคสัน เมื่อปีพ.ศ.2538 นักวิชาการหลายๆคนออกมาบอกว่า EDGE ถือเป็นทางตันของฝั่ง GSM ทาง Data ก่อนที่จะก้าวไปสู่ 3G กันอย่างจริงๆจังๆ ซึ่งผู้ให้บริการต่างๆจะมาพัฒนาต่อไม่ได้แล้ว แต่ต้องวางระบบ 3G กันใหม่กันทั้งระบบ Edge เป็น Packet Switchingเช่นเดียวกับ GPRS ลักษณะการทำงานก็เหมือนกัน เพียงแต่ EDGE จะมีการซอยช่องสัญญาณให้ถี่ๆลง ในแต่ละการเชื่อมต่อจะวิ่งได้หลายๆช่อง ทำให้มีความเร็วสูงขึ้น มีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 473.6 Kbps ซึ่งปัจจุบันในเมืองไทยก็มีใช้จริงแล้วในบางเขตพื้นที่ ส่วนในโลกเราก็มีใช้อยู่ราวๆ 23 ประเทศ
GPRS และ Edge จะมีแยกลงลึกลงไปอีกเป็น Class ความแตกต่างของแต่ละคลาสนั่นก็คือความเร็ว ซึ่งมีผลมาจากการเปิดช่องสัญญาณในการดาวน์โหลดหรืออัพโหลดซึ่งถ้ายิ่งเปิดช่องสัญญาณมากก็จะยิ่งคูณความเร็วขึ้นไป
GPRS Class
GPRS Class นั้นเป็นคุณสมบัติเฉพาะของมือถือแต่ละรุ่น ซึ่งเอาไว้บอกถึงความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลสูงสุดที่มือถือเครื่องนั้นสามารถทำได้ ซึ่งการเขียนบอก Class ของมือถือนั้นมีอยู่ 2 แบบคือ
- แบบแรกจะบอกเลยว่ามือถือเครื่องนั้นเป็น GPRS ที่อยู่ใน Class ไหน ซึ่งปกติแล้วจะมีอยู่ทั้งหมด 12 Class (1-12) โดยดูง่ายๆ คือ ถ้า Class ยิ่งมาก ความเร็ว ในการรับ-ส่งข้อมูลก็จะยิ่งสูงขึ้นตามไปนั่นเอง เช่น Class 10 ก็จะให้ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลสูงกว่า Class 8 - แบบที่สองคือบอกเป็นจำนวนของ Time-Slot โดยก่อนอื่นที่คุณควรทราบคือใน 1 ความถี่ของระบบ GSM จะมีทั้งหมด 8 Time-Slot ซึ่งในการโทรเข้าโทรออกปกต ิจะใช้เพียงแค่ 1 Time-Slot เท่านั้น (ต่อ 1 หมายเลข) ซึ่งความสามารถในการรับข้อมูล (DownLink?) และการส่งข้อมูล (UpLink?) จะเขียนอยู่ในรูปของตัวเลขที่นำมาบวกกันเช่น 3+1 หรือ 4+2 ซึ่งเลขตัวแรกคือ DownLink? ส่วนเลขตัวหลักคือ UpLink? นั่นเอง
ตัวอย่างเช่น หากในคุณสมบัติระบุไว้ว่า GPRS 4+2 (DownLink?=4, UpLink?=2) ก็จะเทียบได้กับ GPRS Class 10 นั่นเอง
ที่ต้องพูดถึงความเร็วในการรับส่งข้อมูล ก็เนื่องมาจากมีความเกี่ยวข้องกับ GPRS Class ซึ่งตัวเลข Class ที่ระบุนั้นเป็นตัวเลขของ Multislot Class (มีตั้งแต่ class 1 ถึง class 12)เป็นตัวกำหนดอัตราความเร็วสูงสุดของข้อมูลที่สามารถกระทำได้ทั้งการรับและการส่ง ในการเขียนเพื่อระบุค่าจะเขียนเป็น ยกตัวอย่างเช่น 3 + 1 หรือ 2 + 2 โดยตัวเลขแรกแสดงค่าจำนวนของช่องเวลาในการรับข้อมูล (ช่องเวลาอะไรที่โทรศัพท์มือถือสามารถรับข้อมูลได้จากเครือข่าย) ส่วนตัวเลขที่สองแสดงค่าจำนวนของช่องเวลาการส่ง (มีกี่ช่องเวลาที่โทรศัพท์มือถือสามารถส่งข้อมูลได้)
ค่า Active Slot สำคัญอย่างไร ?
ค่า Active Slot นั้นสำคัญไม่แพ้ค่าอื่น เพราะมันคือค่าที่แสดงจำนวน Time Slot ที่ GPRS Class นั้นๆ สามารถใช้ได้สูงสุดในเวลาหนึ่งๆ สำหรับการทำการรับ และส่งข้อมูลไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นลองมาดูกันที่ Class 10 จะเป็นได้ว่าสามารถรับข้อมูล (DownLink?) ได้สูงสุด 4 Slot และส่งข้อมูล (Uplink) ได้สูงสุด 2 Slot ซึ่งรวมกันแล้วเป็น 6 Slot แต่ทว่าเมื่อมาดูที่ Active Slot จะเห็นว่ามีเพียงแค่ 5 เท่านั้น ดังนั้นจึงต้องมีการเลือกว่าจะให้ความสำคัญกับการรับข้อมูลหรือการส่งข้อมูลมากกว่ากันแค่ไหน โดยที่รวมกันแล้วต้องมีค่าไม่เกิน 5 Slot (จำนวน Active Slot) เช่นถ้าอยากเน้นให้กับการรับข้อมูล ก็อาจจะตั้งค่าให้เป็น 4+1 หรือถ้าหากอยากให้ความสำคัญกับการส่งข้อมูลมากขึ้นก็อาจจะตั้งเป็น 3+2 เป็นต้น ซึ่งการตั้งค่าเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการเครือข่ายแต่ละเครือข่าย ซึ่งอาจจะกำหนด GPRS Slot ไว้ไม่เท่ากัน อาจจะแตกต่างกันไปตามพื้นที่ให้บริการ ความหนาแน่นของผู้ใช้งานบริเวณพื้นที่นั้น เป็นต้น ซึ่งการพิจารณาการให้ Time-Slot เหล่านี้ ผู้บริการจะคำนึงถึงความคุ้มค่าและความเหมาะสมเป็นสำคัญ
สำหรับ Active Slot จะเป็นตัวเลขกำหนดช่องที่อุปกรณ์ GPRS สามารถใช้ได้พร้อม ๆ กัน ทั้งการรับและส่งในการติดต่อสื่อสารนอกจากการระบุในข้างต้นแล้ว ยังมีการระบุเป็น Class A, Class B, Class C อีกด้วย
คลาสที่แบ่งเป็น A B C นี้จะบอกความสามารถในการเชื่อมต่อ กับการตัดสัญญาณใน ด้าน Voice หรือการเลือกใช้งาน
Class A สามารถใช้ทั้ง 2 ส่วนในเวลาเดียวกันได้เลย สามารถคุยโทรศัพท์ไปด้วยขณะที่ใช้การเชื่อมต่อ
Class B เป็นการเลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่งในช่วงเวลา ขณะที่เราใช้ Voice เราจะใช้ Data ไม่ได้ แต่การใช้ก็ไม่ได้สิ้นสุดลงทันที แต่เป็นการหยุดชั่วคราวเท่านั้นค่ะ พอเราใช้อีก Voice เสร็จเรียบร้อยแล้ว Data ก็จะกลับมาใช้ได้ ยกตัวอย่างเช่นเวลาที่เราเชื่อมต่อ GPRS/EDGE แล้วมีสายเข้ามา เราก็สามารถคุยได้จนจบ พอวางสายแล้วการเชื่อมต่อ GPRS/EDGE ก็จะกลับมาใช้ได้ปกติ
Class C คลาสซีนี้เราต้องเลือกใช้แค่อันใดอันหนึ่งค่ะ โดยที่ต้องออกจากอันหนึ่งก่อนจึงจะใช้อีกอันได้
[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]