ลองอ่านดูกันนะครับ
ปัจจุบัน รายการโทรทัศน์ในประเทศไทย มีการออกอากาศผ่านเสาอากาศทีวี รับชมได้ฟรีโดยไม่มีค่าบริการรายเดือน หรือที่เรียกว่า ฟรีทีวี และโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ทั้งแบบติดกล่องรับสัญญาณ มีการบอกรับสมาชิกรายเดือน และรับสัญญาณจากจานดาวเทียมโดยไม่มีค่าบริการรายเดือน ขณะนี้ได้มีการพัฒนาเข้าสู่ยุคของการจัดการคลื่นความถี่โทรทัศน์แบบดิจิทัล โดยเป็นหน้าที่หลักของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ซึ่งดูแลกิจการด้านวิทยุ-ทีวีของ กสทช. ในการออกใบอนุญาตและดำเนินการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลทีวี ล่า สุดได้มีประกาศมาตรฐานการแพร่ภาพดิจิทัลทีวีแบบ DVB-T2 ยิ่งกระตุ้นให้เราเห็นว่า ยุคของดิจิทัลทีวีใกล้ตัวเรามากขึ้นแล้ว เราจะเตรียมพร้อมอย่างไร
http://www.patsat.net/article?id=99027&lang=thในแง่ของผู้ชมอย่างเราๆ สิ่งที่ควรรู้ ก็คือการเตรียมพร้อมในการก้าวเข้าสู่ยุคของดิจิทัลทีวี ที่จะเริ่มต้นในปี 2558 นี้ เพราะเมื่อถึงเวลานั้น ทีวีอนาล็อกที่เราดูกัน รวมไปถึงทีวีดาวเทียมจะต้องถูกปรับเปลี่ยน โดยจะมีทางเลือกในการรับชมมากขึ้น หน้าที่ของผู้ชมก็อาจจะต้องหาอุปกรณ์รับสัญญาณมาติดตั้งเพิ่มเติม แต่ในส่วนนี้ต้องจะรอนโยบายจากภาครัฐให้ชัดเจน ว่าจะมีการช่วยเหลืออย่างไรบ้าง
หากสังเกตพฤติกรรมของคนเราในปัจจุบันจะพบว่า ก่อนหน้านี้เรามีข้อจำกัดด้านเวลาออกอากาศ เราจึงต้องรีบกลับบ้านมาเพื่อดูรายการโปรด ละครเรื่องโปรด เกิดปรากฏการณ์ถนนโล่งในคืนวันที่ละครฉายตอนอวสาน แต่ยุคของโซเชียล มีเดียนั้นได้เปลี่ยนพฤติกรรมของผู้รับชมไปโดยสิ้นเชิง เพราะหลายๆรายการ ผู้ชมสามารถรับชมย้อนหลังได้จากอินเทอร์เน็ตผ่านช่องทาง Youtube ดังนั้นการพลาดรายการโทรทัศน์ต่างๆ ผู้ชมไม่ได้รู้สึกเสียดายเพราะรู้ดีว่า หาดูย้อนหลังผ่าน Youtube ก็ได้ และรายการโทรทัศน์ยอดฮิต แทนที่จะเป็นวาไรตี้โชว์ ก็กลายเป็นรายการของโทรทัศน์ดาวเทียมและอินเทอร์เน็ตทีวีอย่าง VRZO, เทยเที่ยวไทย, เจาะข่าวตื้น จาก SpokeDarkTV เราจะเห็นได้ว่า ใครๆก็สามารถสร้างคอนเทนต์เองได้ มีช่องรายการของตนเองได้บนอินเทอร์เน็ต และหากมีผู้ชมเป็นจำนวนมาก ก็เป็นโอกาสที่เจ้าของสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ติดต่อให้ผลิตรายการให้ รวมไปถึงความยืนหยุ่นของโทรทัศน์ดาวเทียม ที่ผู้ชมสามารถเลือกชมรายการที่พลาดรับชมในช่วงเวลาที่ฉายรีรันได้
นอกจากนี้ยังเกิดปรากฏการณ์ Multi-Screen (มัลติ-สกรีน) ซึ่งผู้ชมไม่ได้นั่งหน้าจอโทรทัศน์เพียงอย่างเดียว แต่จะคุยโทรศัพท์ หรือใช้งาน Social Network ผ่านสมาร์ทโฟน แท็ปเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ไปพร้อมๆกับการรับชม ส่วนโทรทัศน์ก็เปิดทิ้งไว้ มีประเด็นอะไรน่าสนใจได้ยินผ่านหูก็เงยหน้าขึ้นฟังพร้อมโพสบน Social Network เพื่อแสดงความคิดเห็นของตนได้ทันที พฤติกรรมที่เห็นได้ชัดคือ หากบน Social Network พูดถึงละครเรื่องไหน รายการใด ก็จะมีคนเปิดทีวีติดตามและอ่านความเห็นของคนอื่นๆจาก Social Network ไปพร้อมๆกันด้วย
ดังนั้นจุดหลักของฟรีทีวี จึงตกเป็นเรื่องของการนำเสนอข่าวที่เข้มข้น ลึก หลากหลาย ส่วนรายการวาไรตี้ ทอล์คโชว์ บนโทรทัศน์ทีวีดาวเทียมยังทำรายการได้ไม่น่าสนใจเท่าฟรีทีวี เช่น การเชิญแขกรับเชิญดังๆที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ โปรดักชั่นการผลิตรายการ ฉากรายการ เทคโนโลยีในการนำเสนอ และมีอิทธิพลเรื่องของโฆษณาที่มากกว่า ถามว่า ต่อไปอนาคตเมื่อดิจิทัลทีวีเกิด และหมดยุคของอนาล็อกทีวี เมื่อถึงเวลานั้น ฟรีทีวีและเคเบิลทีวีจะปรับตัวอย่างไร
ในอนาคต ดิจิทัลทีวีจะมีช่องเพิ่มเป็น 60 100 ช่อง ทุกคนจะผลิตเนื้อหาได้เอง สามารถขอเวลาออกอากาศได้เอง หาสปอนเซอร์เข้ารายการได้เอง ยืดหยุ่นกว่าฟรีทีวี และมีช่องทางในการออกอากาศของตนเอง แถมยังมี Social Network ของรายการและของช่อง ช่วยสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ เมื่อถึงเวลานั้น เนื้อหาของรายการ ความน่าสนใจในการนำเสนอจะเป็นตัวตัดสินให้ผู้ชมกดรีโมทเข้าไปดู
ทางกสทช ได้จัดทำคลิปนำเสนอการเปลี่ยนผ่านจากอนาล็อกทีวี ไปเป็นดิจิตอลทีวี ในรูปแบบของ Infographic น่าสนใจมากทีเดียว ลองไปชมกัน
การรับชมแบบ On Demand อาจจะทำให้ เวลาไพร์มไทม์ เปลี่ยนไป
ปกติเวลาไพร์มไทม์ อยู่ในช่วง 20.30 22.00น. แต่พฤติกรรมของผู้ชมในปัจจุบัน ทานข้าวนอกบ้าน เดินคอมมูนิตี้มอลล์ เวลา 5 ทุ่มถึงเที่ยงคืน อาจจะเป็นเวลาไพร์มไทม์ที่เหมาะสมกับกลุ่มคนทำงาน อย่าลืมว่าพฤติกรรมการรับชมแบบ On Demand คือ อยากจะดูเมื่อไหรก็ได้ที่อยากดู บางรายการรับชมย้อนหลังผ่านอินเทอร์เน็ตได้ แต่รายการที่ยังต้องการความสด อย่างกีฬา ฟุตบอล มวย ที่ต้องการรู้ผลแบบเรียลไทม์ ยังต้องการรับรับชมผ่านรายการบนฟรีทีวีและทีวีดาวเทียมอยู่ เพียงแต่การนำเสนอ การวิเคราะห์ที่ ลึก ไม่ใช่แค่ผลกีฬา จะเป็นคำตอบที่ผู้ชมจะเลือกรับชม แต่ถ้าผู้ชมมีทางเลือกในการรับชมผ่าน Mobile TV ล่ะ เวลาไพร์มไทม์เป็นโอกาสทองได้ หากผู้ชมไม่ต้องรีบกลับบ้านไปเฝ้าหน้าจอ แต่สามารถรับชมได้ทันทีผ่านอุปกรณ์พกพา
เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการรับชมดิจิทัลทีวีในปี 2558 ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น ระบบฟรีทีวีและโทรทัศน์ดาวเทียมก็จะเปลี่ยนไป และผู้ชมจะเริ่มทำความรู้จักกับยุคของดิจิทัลทีวีและโมบายล์ทีวีกับอนาคต ธุรกิจโทรทัศน์ของประเทศไทย โดยในขั้นแรกในขณะนี้เป็นเพียงการประกาศมาตรฐานการแพร่ภาพ และอยู่ในขั้นตอนของการจัดสรรคลื่นความถี่ รวมไปถึงการออกใบอนุญาตประกอบกิจการทีวีดิจิทัล หลังจากนี้จะมีเรื่องที่ เกี่ยวข้องกับผู้ชมโดยตรงคืออุปกรณ์รับสัญญาณ และเครื่องรับโทรทัศน์ที่สนับสนุนการรับสัญญาณดิจิทัลทีวี
เมื่อถึงเวลานั้น เราจะมีช่องรายการทีวีให้เลือกมากมาย แต่ก่อนอื่นขออธิบายให้เข้าใจตรงกันก่อนว่า คำว่า ดิจิทัลทีวี ให้ลบภาพของการรับชมรายการทีวีบนอินเทอร์เน็ตในขณะนี้ทิ้งไปให้หมด (ทั้งบนเว็บไซต์ โปรแกรมบนคอมพิวเตอร์) และโมบายล์ทีวี ก็ไม่ใช่การรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ และไม่ใช่การรับชมผ่านอินเทอร์เน็ตแต่อย่างใด แต่เป็นการรับชมจากเครื่องรับสัญญาณดิจิทัลทีวีหรือโทรศัพท์มือถือที่เป็น Mobile TV โดยเฉพาะ
สำหรับการเปลี่ยนจากทีวีระบบอนาล็อกไปสู่ทีวีดิจิทัล อุปกรณ์ที่จะต้องมีก็คือกล่องรับสัญญาณ ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าในส่วนนี้ ภาครัฐอาจมีนโยบายช่วยเหลือ โดยมาตรฐาน DVB-T2 เป็นมาตรฐานที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ สามารถรองรับการกำหนดช่องรายการโทรทัศน์จำนวน 40-50 ช่อง ซึ่งเพียงพอสำหรับการจัดสรรช่องรายการ ส่วนใครที่ยังกังวลในเรื่องของการ เปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ วางใจได้เพราะระบบนี้เป็นมาตรฐานยุโรป และเป็นมาตรฐานใน 38 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศในอาเซียนต่างก็มีการรองรับให้เป็นมาตรฐานร่วมของอาเซียน
ราคาของอุปกรณ์กล่องรับสัญญาณดิจิทัล Set-Top-Box จะอยู่ในระดับที่ประชาชนทุกครัวเรือนสามารถเป็นเจ้าของได้ ประมาณ 800-1,000 บาทเท่านั้น เมื่อติดกล่องรับสัญญาณนี้แล้ว โทรทัศน์เครื่องเก่าก็สามารถรับสัญญาณดิจิทัลทีวีได้
สำหรับการยุติการออกอากาศโทรทัศน์ในระบบอนาล็อก ไม่ใชว่าพอถึงปี 2558 แล้วโทรทัศน์ระบบเก่าจะรับสัญญาณไม่ได้ แต่จะเริ่มกระบวนการSwitch-Off ในปี 2558 และจะเสร็จสิ้นในปี 2563 ในระหว่างช่วงเวลานี้ก็เพื่อให้ผู้ใช้เตรียมตัวในการเปลี่ยนกล่องรับสัญญาณ ส่วนปลายปีนี้เราจะเริ่มได้เห็นรายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศผ่านทีวีดิจิทัล แล้ว
และเรื่องที่หลายๆคนเป็นกังวล โดยต้องการให้กสทช เข้ามาดูแลก็คือ การคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเราๆ เพื่อไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าของผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาเกินจริง อวดอ้างสรรพคุณ อย่าง ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม กาแฟลดน้ำหนัก โดยได้ร่วมมือกับ อย. สคบ. กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บป.ปคบ.) เพื่อกำหนดมาตรฐานและเกณฑ์ในการโฆษณาเพื่อปกป้องสิทธิ์ของผู้บริโภคในการรับ ชมสื่อที่นำเสนอหลากหลายมากขึ้น
ในประเทศไทยจะใช้ DVB เป็นมาตรฐานหลักในการออกอากาศระบบดิจิทัล ทั้งภาคดาวเทียม และเคเบิ้ล (DVB-S, DVB-C) ที่มีผู้ให้บริการหลายราย ทั้งแบบบอกรับสมาชิก และแบบซื้อขาดไม่มีรายเดือน ส่วนภาคพื้นดินนั้นเดิมทีจะใช้ระบบ DVB-T ซึ่งเคยมีการทดสอบเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2543 ถึงพฤษภาคม 2544 จากตึกใบหยก 2 แต่ความล้าช้าของการออกกฎหมายกสช ผ่านมา 10 ปี เทคโนโลยี DVB พัฒนาดีขึ้น ประเทศไทย และสมาชิกอาเซียนจึงมีการตกลงจะใช้ระบบ DVB-T2 ประเทศไทยต้องรอการอนุญาตจากกสทชก่อน ซึ่งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 จะประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เพื่อเริ่มนำร่องโครงการทดลอง ดิจิทัล ทีวี ภาคพื้นดิน และในรูปแบบโทรศัพท์ที่สามารถดูโทรทัศน์ได้ เป็นลำดับแรกในเดือนมิถุนายน 2555 การทดลองดิจิทัลทีวี DVB-T2 เคยทดลองมาแล้วโดยช่อง 5 ในปี พ.ศ. 2554 และจะยุติระบบอะนาล็อกในปี พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2563
อธิบายเพิ่มสำหรับคนที่ไม่ได้ติดตามเรื่องทีวีดิจิทัลนะครับ ข่าวนี้เกี่ยวกับการออกอากาศทีวีแบบปกติที่เราใช้กันอยู่ (terrestrial television) เพียงแต่เปลี่ยนมาใช้การส่งสัญญาณแบบดิจิทัล แทนสัญญาณแอนะล็อกแบบปัจจุบันนี้ ผลดีก็คือมีช่องฟรีทีวีเยอะขึ้นมาก (ด้วยช่วงคลื่นที่มีน่าจะได้ราวๆ 40-50 ช่องด้วยความละเอียด SD)
การแพร่สัญญาณทีวีแบบดิจิทัลจะเป็นช่องใหม่ที่ไม่ซ้ำกับ 6 ช่องเดิม และไม่กระทบกับการส่งสัญญาณทีวีแบบเดิมเพราะคนละช่วงคลื่นกัน ทีวีแบบดิจิทัลจะแพร่ภาพคู่กับแอนะล็อกไปอีกช่วงหนึ่งเพื่อให้ประชาชนปรับตัว จากนั้นจะเลิกออกอากาศแบบแอนะล็อกโดยถาวร (เรียกว่า digital switch over) เพื่อนำช่วงคลื่นทีวีแอนะล็อกเดิมไปใช้งานด้านอื่นที่มีประสิทธิภาพของการใช้คลื่นที่ดีกว่า
ระบบให้เลือกใช้ ได้แก่ ATSC (อเมริกา), ISDB-T (ญี่ปุ่น), DTMB (จีน), DVB-T (ยุโรป) และ DVB-T2 (ยุโรป)
สำหรับประเทศไทยนั้น ล่าสุดทาง กสทช.เลือกใช้ระบบส่งสัญญาณแบบ DVB-T2 โดยให้เหตุผลว่าเป็นระบบที่ใหม่และมีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อเทียบกับระบบ อื่น ๆ อีกทั้งยังเป็นระบบที่ประเทศสมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่เลือกใช้อีกด้วย
การเข้าสู่ยุคทีวีดิจิทัลไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเพียงแค่ระบบการรับ-ส่งสัญญาณ วิทยุโทรทัศน์เท่านั้น เพราะในด้านเทคโนโลยีด้านการถ่ายได้ถูกพัฒนาขึ้นมาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมาก ขึ้นเพื่อรองรับระบบที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น
กล้องถ่ายวิดีโอที่พัฒนาขึ้นมาให้มีความคมชัดมากขึ้น อีกทั้งขนาดของภาพก็เปลี่ยนไปจาก 4 : 3 (จอภาพธรรมดา) เป็น 16 : 9 (จอภาพไวด์สกรีน) เป็นต้น และจุดนี้เองที่ทำให้เกิดปัญหาเรื่องภาพเพี้ยนของรายการโทรทัศน์ไทยใน ปัจจุบัน
"ฐิติชัย อัฏฏะวัชระ" สื่อมวลชนอิสระและผู้คร่ำหวอดในด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร กล่าวถึงกรณีนี้ว่า "ในปัจจุบันรายการโทรทัศน์ส่วนใหญ่เกือบ 70 เปอร์เซ็นต์ถูกถ่ายทำออกมาด้วยระบบไฮเดฟที่มีขนาดภาพที่ 16 : 9 แต่ด้วยความที่เมืองไทยยังคงเป็นระบบแอนะล็อกที่ส่งสัญญาณภาพแบบ 4 : 3 ประกอบกับทีวีตามบ้านเรือนส่วนใหญ่ยังเป็นจอธรรมดาไม่ใช่ไวด์สกรีน ทำให้ภาพที่ออกมามี-ส่วนที่เพี้ยน ซึ่งอาจจะอ้วนหรือลีบจนเกินไป แต่ถ้าดิจิทัลทีวีเกิดขึ้นเมื่อไร เชื่อว่าปัญหาดังกล่าวน่าจะหมดไปอย่างแน่นอน"
อย่างไรก็ตาม ปัญหาเรื่อง-ส่วนภาพเพี้ยนในปัจจุบันอาจจะกลายเป็นเรื่องเล็กน้อย เมื่อได้รับรู้ว่าการเกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบของทีวีดิจิทัลไทยในอีก 3 ปีข้างหน้า บังคับให้ทุกบ้านที่ใช้โทรทัศน์จอตู้ธรรมดาต้องมีกล่องรับสัญญาณโทรทัศน์ดิ จิทัลติดเอาไว้ หรือไม่ก็ต้องเปลี่ยนโทรทัศน์ให้เป็นสมาร์ททีวีที่รองรับความเป็นดิจิทัลใน อนาคตยกเว้นเพียงแต่ว่ารัฐบาลจะช่วยอุดหนุนเม็ดเงินในช่วงเปลี่ยนผ่านให้กับ ประชาชน เช่นเดียวกับที่ญี่ปุ่นหรือสหรัฐอเมริกาเคยทำมาก่อนหน้านี้ ล่าสุดมีเสียงแว่วมาจาก กสทช.ว่ารัฐบาลมีงบฯสนับสนุนแน่นอน แต่จะเท่าไรและรูปแบบไหนคงต้องรอลุ้นกันอีกในช่วงปลายปีนี้ หรืออาจจะ 3 ปีข้างหน้าก็เป็นได้