ชื่อ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
23, พฤศจิกายน 2024, 08:31:32 pm
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: :: ต้องการประชาสัมพันธ์สินค้าติดต่อ boransat@gmail.com ::

dvb

+  บอร์ดโบราณ ดาวเทียม - HD player - CCTV
|-+  HD player,Tablet ,iPad,Galaxy Note
| |-+  เครื่องเสียง รถยนต์ เครื่องเสียงกลางแจ้ง เครื่องเล่น DVD ,Blu-ray
| | |-+  เกร็ดความรู้เรื่องเครื่องเสียงต่างๆครับ อ่านแล้วได้ประโยชน์แน่นอนครับ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: เกร็ดความรู้เรื่องเครื่องเสียงต่างๆครับ อ่านแล้วได้ประโยชน์แน่นอนครับ  (อ่าน 127388 ครั้ง)
patsat.net
Sr. Member
****
กระทู้: 431


อีเมล์
« เมื่อ: 24, มิถุนายน 2009, 07:56:38 pm »

******เกร็ดความรู้เรื่องเครื่องเสียงต่างๆครับ********

การใช้ปุ่ม roundness หรือ ปุ่ม MX (Media Xpander) อาจจะทำให้เสียงเบสหนักขึ้น และเสียงกลางแหลมผิดเพี้ยนไป การใช้ควรปรึกษาช่างที่ชำนาญว่าจะใช้ในโอกาสใด เช่น แบบ Hi-Power หรือแบบมี Power amp

การปรับเกนวอลลุ่มของวิทยุ ถ้าจะให้สุดยอดต้องปรับระดับเกนอยู่ที่ 80 เปอร์เซ็น แล้วจึงมาปรับแต่งวอลลู่มที่ปรีตามความต้องการ เสียงที่ได้ออกมาจะมีความอิ่มเอิบมากกว่า

แผ่นซีดีที่จะนำไปเล่นกับเครื่องเสียง ขณะใช้มือสัมผัสนั้น จะต้องแน่ใจแล้วว่ามือนั้นได้สะอาด โดยไม่ควรเปื้อน ของหวาน, ขนมขบเคี้ยว หรือ ไม่ว่าจะเป็น ของคาว ก็ตาม มิฉะนั้น แล้วอาจจะทำให้มดเข้าไปทำรังภายในเครื่องเล่น หรือ เครื่องเสียงของท่าน ได้

เสียงจะดีเข้าขั้นอยู่ที่องค์ประกอบต่างๆ เช่นแผ่นซีดีที่จะเปิด ถัดมาเป็นระบบใดๆ, AMP, ลำโพง, แหล่งกำเหนิดคุณภาพขั้นไหน, เซ็ทจูนเข้ากันเพียงใด, นั่งฟังตำแหน่งไหน เป็นต้น

ชุดประมวลผล จะมีความได้เปรียบเกี่ยวกับการเลือกแนวเพลงที่ฟังได้หลายเมมโมรี่ ซึ่งสามารถเลือกความถี่เสียงความลาดชันของเสียงได้อย่างแม่นยำตามสไตล์ที่เราต้องการซึ่งจะมีอยู่ในชุดถอดรหัส
 

ระบบเสียงที่ดียิ่งยวด ปัจจุบันใช้เป็นระบบถอดรหัสที่เป็นทั้งอินพุท แบบดิจิตอล และอนาล็อค สามารถแยกเสียงชุดหน้าเป็นระบบ TRI-AMP และหลังเป็น BI-AMP และแยกความถี่ได้ชัดเจนทั้งกลางแหลมหน้า/หลัง และซับวูฟเฟอร์ ซึ่งเหนือชั้นกว่าปรีแอมป์ และคลอสส์โอเวอร์โดยทั่วไปฯ
 

ในการฟังเสียงเพลง ตำแหน่ง ซ้าย และ ขวา ถ้าฟังจากจุดนั่งฟัง แล้วตำแหน่งเสียงไม่อยู่กลางเวที ( หน้ากระจกรถ ) สามารถปรับตำแหน่ง BALANCE ให้ลงตัวได้ โฟกัสของเสียงจะดีขึ้น ซึ่งตำแหน่ง BALANCE นี้ ไม่จำเป็นต้องอยู่ที่ตำแหน่ง CENTER
 

มีข่าวมาฝาก ตั้งแต่วันนี้ทางทีวีช่อง 3 ได้เปลี่ยนระบบการส่งสัญญาณคลื่นเป็นแบบ UHF จากเดิมเป็นระบบ LHF ซึ่งจะทำให้การรับสัญญาณภาพคมชัดขึ้น สามารถปรับไปรับสัญญาณได้ที่ช่อง 32
 

แบตเตอร์รี่แห้ง แอมป์แปร์สูงสามารถใส่แทนแบตเตอร์รี่เดิมที่มากับรถได้ เชื่อหรือไม่ว่าทำให้ระบบไฟของรถ และเครื่องเสียงรถดีขึ้นมากกว่าเก่า เช่น รอบเครื่องยนต์ดีขึ้น, ออกตัวดีขึ้น, อัตราเร่งแรงขึ้น และเครื่องเสียงมีพลังดีขึ้นมาก
 

เสียงเบสถ้าตีตู้ซับเป็นตู้สูตรปิด ขณะเปิด-ปิด ฝากระโปรงรถด้านท้ายเสียงเบสจะมีความแตกต่างกัน แก้ไขได้โดย NORMAL เป็น REWORD หรือ REWORD เป็น NORMAL ก็จะได้เสียงเบสที่สมจริงตามอะคูดติกของรถ
 

ระบบไฟเกี่ยวกับตัวฟรอนท์ ควรจะต่อให้ครบโครงสร้างที่โรงงานออกแบบมา เช่นสายGROUND สายBACKUP สายACC ถ้าไปต่อไฟตรงรวมทั้งหมดอาจจะเกิดผลกระทบข้างเคียงได้
 

แผ่นซับเสียง (DAMPING) มีส่วนสำคัญที่ทำให้รถเงียบ และชุดเครื่องเสียงมีความนิ่งขึ้น เพราะส่วนประกอบของแผ่นซับเสียงมีสารเคลือบพิเศษช่วยลดการสะท้อนของเสียง
 

เสียงในระบบเครื่องเสียง จะดีไม่ดี ขึ้นอยู่กับแผ่นซีดีเพลงที่เปิดด้วยว่าอัดในระบบ 1 บิท หรือ 24 บิท คุณภาพของแผ่น บิทมากบิทน้อย ก็มีส่วนทำให้เสียงดีด้วย (นอกเหนือจากระบบที่ติดตั้งที่ดีอยู่แล้ว)
 

ระบบไฟถือว่าสำคัญ มั่นตรวจดูแบตเตอรรี่ให้อยู่ในสภาพดีเสมอ เช่น ขั้ว + และ - ให้แน่น อย่าให้มีขี้เกลือ ถ้ามีให้ใช้น้ำร้อนราด และทาด้วยจารบี มั่นตรวจดูน้ำกลั่นอย่าให้ต่ำกว่าที่กำหนด ฯ
 


วิทยุ CD ที่แบบถอดหน้าปัดท์ได้ ถ้าใช้ไปนานๆ มีอาการติดๆดับๆ ควรถอดมาล้างคอนแทรค เพื่อล้างสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ที่คอนแทรคอาจเป็น เขม่า หรือ ฟักส์ (คราบขี้เกลือ) เพื่อให้กลับมาใช้งานได้ดังเดิม
ี 

ในกรณีติดตั้ง TV MONITOR ในรถยนต์ เวลาทำความสะอาดควรระวังหน้าจอ ห้ามใช้น้ำยาที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ หรือ แว๊กซี่ เพราะอาจทำให้จอหม่นหมอง เป็นคราบ และเป็นรอยได้ ควรใช้ผ้าละเอียดๆ เช็ด เช่นผ้าเช็ดแว่นตาดีกว่าเป็นต้น

มีข่าวมาฝาก เราจะเห็นกันบ่อยตามหน้าหนังสือพิมพ์ ในกรณีล้อยางรถระเบิดจนทำให้เกิดอุบัติเหตุ ส่วนหนึ่งคือ ยางที่เติมลมแบบอ๊อกซิเจน ถ้าวิ่งเร็ว อากาศร้อน แดดจัด ล้อยางอาจขยายตัว (เพิ่มแรงดัน) แก้ไขได้โดยเติมลมแบบไนโตรเจนจะช่วยลดปัญหานี้ได้โดยสิ้นเชิงเพราะไนโตรเจนไม่ขยายตัว (หาเติมลมได้ตามศูนย์ล้อยางรถยนต์ ที่มีชื่อเสียง)

วิทยุ/ซีดี หรือ ดีวีดี/ทีวี ขณะที่ใช้งานถ้ามีเพาเวอร์แอมป์อยู่ด้วยในชุดในการเปิดนาทีแรก (หลังจากผ่านการเบริน์อินไปแล้ว) เสียงอาจจะยังไม่เข้าที่ หรือได้โฟกัส ต้องอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงไปแล้ว เสียงถึงจะเข้าที่ และเสียงดีขึ้นเนื่องจากอุปกรณ์นั้นต้องผ่านการวอมเสียก่อน

วิทยุ/ซีดี หรือ ทีวี รุ่นใหม่ๆ เช่น PIONEER, ALPINE, CLARION, และ JVC ฯ ถ้าเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ หรือถอดขั้วแบตเตอรี่ ออกเมื่อใดค่าต่างๆ ที่ตั้งไว้จะถูกลบทันที (หรือภายในระยะเวลาที่รุ่นนั้นจะมีหน่วยความจำอยู่นานเท่าใดอาจเป็นชั่วโมง หรือ เป็นวันๆ) ไม่ต้องแปลกใจที่เสียงและภาพเปลี่ยนไปเพียงแค่ตั้งค่าใหม่ โดยการเซ็ตอัพใหม่ก็จะได้เสียง และภาพที่ดีเช่นเดิม

การเบิรน์อิน เครื่องเสียง โดยปกติแล้วต้องมีการใช้งานอยู่ระหว่าง 100-200 ชั่วโมง เป็นขั้นต่ำเครื่องเสียงถึงจะมีการเข้าที่ให้ประสิทธิ์ภาพเกือบเต็มร้อยเปอร์เซ็น และช่วงที่ผ่านพ้นเบิรน์อินแล้วควรมีการเซ็ตอัพใหม่ เพื่อคุณภาพเสียงมีประสิทธิภาพสูงสุด

ติดตั้งเครื่องเสียงใหม่ๆ อาจจะมีกลิ่นของกาวหุ้มพรม หรือหนัง จากแผ่นไม้ MDF ชนิดการอบน้ำยาค่าเชื้อ มอด วิธีแก้ไขดับกลิ่นเบื้องต้น แนะนำให้เอาถ่านหุงข้าว (ถ่านไม้ดำ) ใส่ถาดวางไว้ที่เก็บสัมภาระด้านหลังรถ หรือในรถ ทิ้งไว้สัก 2-3 วันเพื่อดูดกลิ่น

การรักษาเครื่องเสียงภายในรถยนต์
1. การดูแล และการรักษาเครื่องเสียงภายในรถยนต์ ถ้าจอดรถในที่โล่งแจ้งที่มีแดดควรมีม่านบังแดดไว้ที่ลำโพงด้วยไม่อย่างนั้นอาจทำให้ลำโพงเสื่อมได้ เช่น ขอบลำโพงเปื่อย, วอย์คอยน้ำยาละลาย และกรวยลำโพงซีดได้ และจะทำให้เสียงที่ออกมาไม่ดีเท่าที่ควร (ฟิลม์ติดรถยนต์ไม่สามารถช่วยอะไรได้มาก)
2. สตารท์เครื่องยนต์รถทุกครั้งควรปิดวิทยุเทปเสียก่อน (ถ้าเปิดฟังอยู่) ไม่อย่างนั้นอาจทำให้วิทยุเทปเสียหายได้ เนื่องจากไฟกระชากขณะสตารท์รถ
3. แบตเตอรี่รถยนต์หมั่นดูน้ำกลั่นอย่าให้ขาด ระดับน้ำกลั่นลดกว่าที่กำหนด แบตเตอรี่ถ้าครบอายุการใช้งานควรเปลี่ยนใหม่ และการเปลี่ยนแบตเตอรี่
ใหม่นั้นควรจะต้อง Slow ชารท์ไว้ก่อนอย่างน้อย 3-6 ชั่วโมงจึงนำมาใส่ในรถยนต์ แบตเตอรี่จะให้กำลังไฟอย่างมีคุณภาพเต็มร้อยเปอร์เซ็น 
WMA (Window Media Audio) Playback
WMA
เทคโนโลยี่ล่าสุดแห่งอนาคตของการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบของ Audio ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย Microsoft และสามารถเล่นได้กับเครื่องเล่น MP3 ที่เล่น WMA ได้ จึงทำให้คุณภาพเสียงที่ออกมามีความสมบูรณ์มากกว่าคุณภาพเสียงที่ได้จาก MP3 เพียงคุณใช้ Window Media Player Version 7/7.1 หรือ Window Media Player For XP เพื่อใช้ในการบันทึกเพลงโปรดของคุณให้เป็น "WMA" Files

****เรื่องของเพาเวอร์แอมป์ *****

CLASS "D"
ตัว "D"ไม่ได้ย่อมาจากคำว่า DIGITAL อินพุทถูกแปลงเป็นออดิโอ เวฟฟอร์ม ไบนารี 2 สเตท ความแตกต่างเป็นเรื่องสำคัญ เพราะ CLASS D ออกแบบให้ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพ แทนที่จะต้องเสียกำลังไปในทรานซิสเตอร์ เอาท์พุทก็จะถูกไม่เปิดตลอด ไม่มีโวลเทจเสีย ก็ปิดตลอด ส่งผลให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ดังนั้นอินพุทออดิโอถูกแปลงเป็น PWM (PULSE WIDULATED) ร่องสีเหลืองที่อยู่ขางใต้คือ เอาท์พุทของแอมพ์ ร่องสีฟ้าคือ เวฟฟอร์ม PWM เวฟฟอร์มสีฟ้าจะถูกป้อนให้กับฟิลเตอร์เอาท์พุท ซึ่งให้ผลเป็นเวฟฟอร์มเอาท์พุทสีเหลือง สังเกตว่า เอาท์พุทจะดูเหมือนอะไรบางอย่างที่เสียไปสัญญาณที่เสีย และเสียงสวิทชิงทั้งหมดไม่สามารถเอาออกไปได้ และจะเห็นผลได้ที่นี่ เพราะขั้นตอนการแปลงสัญญาณอินพุทไปเป็น pwn และแปลงกลับไปเป็นแอนาลอก ทำให้เกิดการเสียของสัญญาณไป ฟีดแบคทั่วไปก็เหมือนกับที่ใช้ในการออกแบบแอมพ์ CLASS "AB" เพื่อลดการเสียของสัญญาณ มอสเฟทเป็นทางเลือกเดียวสำหรับการออกแบบ CLASS "D" ซึ่งการออกแบบส่วนใหญ่จะมีประโยชน์แต่กับเพียงเบสส์แอมพ์ เมื่อมันไม่สามารถสวิทช์ได้เร็วเพียงพอ กับการผลิตความถี่สูงอีกครั้ง การออกแบบ CLASS "D" ฟลูล์เรนจ์คุณภาพสูงยังคงหาได้ ในเครื่องเสียงระดับมืออาชีพ แต่มันจะซับซ้อนกับเอาท์พุทมัลทิเฟล

*****CLASS "T"******
CLASS T (TRIPATH) เหมือนกับ CLASS D แต่ไม่ใช้ฟีดแบค แอนาลอก เหมือนกับ CLASS D ฟีดแบคจะเป็นสัญญาณดิจิทอล และเกิดกับส่วนบนของฟิลเตอร์เอาท์พุท เพื่อหลีกเลี่ยงการยกเฟสของฟิลเตอร์นี้เพราะการเสียของสัญญาณในแอมพ์ CLASS D และ CLASS T เกิดขึ้นจากไทมิงทำงานผิดจังหวะ แอมพ์ CLASS T จะป้อนข้อมูลในเรื่องจังหวะกลับไป ส่วนการเสียของสัญญาณ ยังเกิดจากที่เเอมพ์ใช้ตัวประมวลผลสัญญาณดิจิทอล เพื่อแปลงอินพุท แอนาลอกไปเป็นสัญญาณ PWM และประมวลผลข้อมูลก่อนจะส่งกลับ
การประมวลผล จะดูที่ข้อมูลฟีดแบค และทำการปรับแต่งจังหวะ เพราะลูพฟีดแบคไม่ได้รวมฟิลเตอร์เอาท์พุทเอาไว้ด้วย ในแอมพ์ CLASS T มั่นคงมาก และสามารถทำงานได้เต็มช่องสัญญาณเสียง ซึ่งผู้ฟังส่วนใหญ่ไม่สามารถได้ยินความแตกต่างระหว่าง CLASS T และ CLASS AB ที่ออกแบบดีๆได้
การออกแบบทั้ง CLASS Dและ CLASS T ต่างก็มีปัญหากันคนละอย่าง มันเกินกำลังมาก ที่รอบต่ำเพราะเวฟฟอร์มความถี่สูงๆ จะเกิดขึ้นตลอดเวลาแม้ในช่วงที่ไม่มีสัญญาณเสียงแอมพ์ก็ยีงมีความร้อนตกค้างหลงเหลืออยู่แอมพ์บางรุ่นจะมีการตัดการทำงานของเครื่องเมื่อหยุดพักใช้งาน และจะกลับมาทำงานใหม่ เมื่อใช้งานโดยอัตโนมัติ

*****CLASS "G"*****
CLASS G เพิ่มประสิทธิภาพขึ้นมาอีกขั้นธรรมดาแอมพ์ CLASS AB จะขับโดยเพาเวอร์ซัยพลาย MULTI-RAIL แอมพ์ 500 วัตต์ อาจจะมี POSITIVE RAIL 3 และ NEGATIVE RAIL 3 ซึ่ง RAIL VOLTAGES อาจจะเป็น 70,50,25 โวลท์เมื่อเอาท์พุทของแอมพ์ขยับไปใกล้ 25 โวลท์ ซัพพลายก็จะสวิทช์ให้ RAIL 50 โวลท์ และเมื่อเอาท์พุทขยับเข้าไปใกล้ 50 VOLT RAIL ซัพพลายก็จะสวิทช์ไปยัง RAIL 70 โวลท์ บางครั้งเรียกการออกแบบนี้ว่า RAIL SWITCH
การออกแบบนี้ เป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ โดยลดการสูญเสียโวลเทจกับทรานซิลเตอร์เอาท์พุทโวลเทจนี้ เป็นความแตกต่างระหว่างซัพพลายบวก หรือแดง กับเอาท์พุทออดิโอ สีฟ้า CLASS G มีประสิทธิภาพเทียบเท่า CLASS D หรือ CLASS T ในขณะที่การออกแบบ CLASS G มีความสลับซับซ้อนมาก โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานแอมพ์ CLASS AB และมีคุณลักษณะใกล้เคียงกันมาก

*****CLASS "H"*****
CLASS H มีความคล้ายกับ CLASS G ยกเว้น RAIL VOLTAGE ที่โมดูเลทสัญญาณอินพุทเท่านั้น ที่ไม่มีเพาเวอร์ซัพพลาย RAIL จะสูงกว่าสัญญาณเอาท์พุทเล็กน้อย ปล่อยโวลเทจให้กับทรานซิสเตอร์ตัวเล็ก และระบายความร้อนทรานซิสเตอร์เอาท์พุท วงจรที่คล้ายกับที่ใช้ในแอมพ์ CLASS D นี้ก็คือ มีโมดูเลทเพาเวอร์ซัพพลาย RAIL ที่เหมือนกัน ในส่วนของความสลับซับซ้อนแอมพ์แบบนี้ มีความเหมือนกับแอมพ์ CLASS D แต่ทำงานได้เหมือนกับแอมพ์ CLASS AB
การล้างหัว CD, LD, DVD
การล้างหัว CD, LD, DVD สามารถใช้สำลีพันกับไม้ หรือ COTTON BUD เช็ดหัวเลนซ์ไปทางเดียวโดยไม่ต้องชุบน้ำยาใดๆ ทั้งสิ้น การล้างวิธีนี้จะดีกว่า
การล้างดด้วยแผ่น CD แบบมีขนแปรงในแผ่น
ระบบ RDS ( RADIO DATA SYSTEM )
ระบบ RDS ย่อมาจาก RADIO DATA SYSTEM คือวิธีการ รับ-ส่ง ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้รับโดยการส่งสัญญาณเกาะมาด้วยพร้อม
กับสัญญาณคลื่นวิทยุระบบ DIGITAL เพื่อไปยังผู้ใช้โดยจะสามารถแสดงผลผ่านทางจอหน้าปัดของวิทยุในรถของท่านหรือในบ้านก็ได้หากเครื่องรับ
ของท่านเป็นรุ่นที่สามารถรับได้โดยจะแสดงผลเป็นตัวอักษร ข้อความ ตัวเลข หรือรูปแบบอื่นๆ เพื่อไม่ให้เราพลาดข้อมูลข่าวสารที่สำคัญต่างๆ
ในชีวิตประจำวัน เช่น อุบัติเหตุฉุกเฉิน ถนนปิด น้ำท่วมฉับพลัน การจราจร ข้อมูลตลาดหุ้น ข่าวกีฬาบันเทิง หรือสามารถแสดงข้อมูลเกี่ยวกับเพลง
หรือสถานีที่ท่านกำลังรับฟังอยู่ เช่น ชื่อเพลง ชื่อนักร้อง ชื่ออัลบัม โพรแกรมคอมเสิร์ท การจองตั่วต่างๆ และอีกมากมายในอนาคต อาจกล่าวได้ว่า
เป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการกระจายเสียงของเมืองไทยครั้งยิ่งใหญ่และในอนาคตอันใกล้อาจมีระบบอำนวยความสะดวกอีกมากมายตามมา
อาทิ เช่น การขอเพลง ON-LINE ผ่านทางวิทยุ เพื่อรับฟังเฉพาะในรถของท่านเองในลักษณะคล้ายระบบ CABLE TV และยังมี RADIO PAGING
เป็นการใช้งานในลักษณะเดียวกันกับวิทยุติดตามตัวได้อีกในอนาคต
เรื่อง ของระบบเสียง
ระบบ DOLBY SURROUND หรือ ระบบ PRO LOGIC
คือระบบ เสียงที่ประกอบไปด้วย ทิศทางของลำโพงที่อยู่ด้านหน้า คือ Center และคู่หน้า Surround (อยู่ซ้าย และ ขวา) พร้อมลำโพงคู่หลัง คือ Surround หลัง(แต่เป็น Mono) และมีตู้ SUB รวมเป็น 4.1 channe
ระบบ DOLBY DIGITAL หรือ ระบบ AC-3
คือระบบ สียงที่ประกอบไปด้วย ทิศทางของลำโพงที่อยู่ด้านหน้า คือ Center และคู่หน้า Surround (อยู่ซ้าย และ ขวา) พร้อมลำโพงคู่หลัง คือ Surround หลัง(แต่เป็น Stereo) และมีตู้ SUB รวมเป็น 5.1 channe
ระบบ DTS ย่อมาจาก DIGITAL THEATER SYSTEM
คือระบบเสียงที่มีร่องเสียง 6CH (ถ้า AC-3 เรียกว่า 5.1CH) ระบบนี้ลำโพงจัดแบบ AC-3 มี Center, Surround หน้า,
Surround หลัง, และ Subwoofer แต่สัญญาณ DTS จะมีความชัดเจนกว่า ระบบ AC-3 ตรงที่ว่าสัญญาณที่ออกมาจากเครื่อง
เล่น CD หรือ DVD ไปที่เครื่องถอดรหัสเป็นสัญญาณดิจิตอล ซึ่ง AC-3 เป็นสัญญาณอนาล็อก เสียงของ DTS จึงมีความชัดเจน และให้ความสมจริงเหนือกว่า
ระบบ SDDS ย่อมาจาก SONY DINAMIC DIGITAL SOUND
คือระบบเสียงที่มี 7.1CH ส่วนใหญ่จะใช้ในโรงภาพยนต์ มีลำโพง Center, Surround หน้า, Surround หลัง, Subwoofer
และมีเพิ่มจากระบบ DTS ตรงที่มี Surround กลาง อีก 2CH เสียงให้ความชัดเจนขึ้น แต่เสียงในระบบ DTS จะเคลียร์
และฟังดีกว่า เนื่องจากเป็นระบบ DIGITAL ซึ่งเปิดจาก CD ROM LINK กับแผ่นฟิลม์หนัง แต่เสียงในระบบ SDDS
ใช้เสียง DIGITAL ในร่องหนามเตย จึงมีความคมชัดสู้ระบบ DTS ไม่ได้
ระบบ HI-POWER
คือระบบที่ใช้กำลังในตัวเอง เช่น วิทยุ-เทป ติดรถยนต์โดยทั่วไป ซึ่งปัจจุบันมีกำลังวัตต์ถึง (60W x 4CH) แล้วขับกำลังในตัวเองออกสู่ลำโพง
ระบบ SINGLE-AMP
คือระบบ วิทยุ-เทป หรือ ซีดี ถ่ายทอดสัญญาณสู่ AMP 1 ตัว (2 CH) โดยใช้กำลังวัตต์จาก AMP ขับกำลังออกสู่ลำโพง
ระบบ BI-AMP
คือระบบ เสียงที่ใช้ AMP 2 ตัว (ตัวละ 2CH) ตัวแรก ขับลำโพงซับวูฟเฟอร์ ตัวที่ 2 ขับลำโพงกลางแหลม โดยอาศัย อิเลคทรอนิคครอสส์ 2ทาง จ่ายความถี่ต่ำ และความถี่กลางแหลมให้
ระบบ TRI-AMP
คือระบบ เสียงที่ใช้ AMP 3 ตัว (ตัวละ 2CH) AMP ตัวแรกขับลำโพง ซับวูฟเฟอร์ AMP ตัวที่ 2 ขับลำโพงเสียงกลาง AMP ตัวที่ 3 ขับลำโพงเสียงแหลม เสียงย่าน ต่ำ, กลาง, และสูง อิสระโดยมี อิเลคทรอนิคคอรสส์ แบบ 3 ทาง เป็นตัวจ่ายสัญญาณให้
ระบบ CROSS-AMP
คือระบบเสียงที่ใช้ AMP 4 ตัว (ตัวละ 2CH) AMP ตัวแรก ขับลำโพงซับวูฟเฟอร์(ทุ้ม) AMP ตัวที่ 2 ขับลำโพงเสียงต่ำ AMP ตัวที่ 3 ขับลำโพงย่านกลาง
AMP ตัวที่ 4 ขับลำโพงย่านสูง โดยมี อิเลคทรอนิคคอรสส์ แบบ 4 ทาง เป็นตัวจ่ายสัญญาณเหล่านี้ให้
ศัพท์เครื่องเสียง
A
AAD
หมายถึง เสียงดนตรีที่ได้ถูกบันทึกเป็นต้นฉบับในรูปแบบของสัญญาณอนาล็อก และต่อมาได้แปลงสัญญาณให้เป็นรูปแบบของสัญญาณดิจิตอลเพื่อบันทึกลงบนแผ่น CD
AC-3
หมายถึง ดูได้จากคำว่า Dolby Digital คือระบบเซอร์ราวท์ 5.1 CH
ADD
หมายถึง เสียงดนตรีที่บันทึกต้นฉบับ (มาสเตอร์) เป็นสัญญาณอนาล็อก หรือการนำเอามาสเตอร์ดังกล่าวมาแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล และเก็บข้อมูลดิจิตอลดังกล่าวลงในแผ่น CD
Alignment
หมายถึง การจัดวางทิศทางของหัวเข็มให้ได้ฉากกับร่องแผ่นเสียง เพราะหากทิศทางและมุมของการวางหัวเข็มไม่ถูกต้องเสียงที่ออกมา นั้นจะมีความผิดเพี้ยนสูง ในขณะเดียวกัน Alignment นี้จะรวมไปถึงการจัดวางหัวเทปให้อยู่ในทิศทางที่ถูกต้องเช่นเดียวกัน
Amplifier
หมายถึง เรื่องของภาคขยายให้สัญญาณแรงขึ้นให้เพียงพอที่จะขับเสียงของลำโพงได้ การขายสัญญาณจะแบ่งเป็นสองช่วงคือ การขยายสัญญาณอ่อน เรียกว่า Pre-Amplifier ส่วนนี้จะขยายสัญญาณให้แรงขึ้นมาระดับหนึ่งก่อนที่จะป้อนเข้าภาคขยายตัวจริง คือเพาเวอร์แอมป์ และเมื่อในสองส่วนนี้มารวมกันในตัวเดียวกันเราเรียกว่า Integrated - Amplifier
Analogue
หมายถึง สัญญาณที่เป็นรูปคลื่นเสียงตามปกติ การรับและส่งสัญญาณก็เช่นเดียวกัน จะไม่เป็นสัญญาณข้อมูลตัวเลขเหมือนสัญญาณดิจิตอล
Anti-skating
หมายถึง เป็นตัวดึงและรักษาให้โทนอาร์มของเครื่องเล่นแผ่นเสียงมีแรงต้านทาน การดึงเข้าสู่ศูนย์กลางในขณะที่เครื่องกำลังทำงาน
A COUSTIC
หมายถึง สภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อคลื่นเสียง รวมทั้งปริมาตร และรูปลักษณ
ALTERNATOR
หมายถึง ส่วนหนึ่งของระบบไฟฟ้าในรถ อุปกรณ์นี้สามารถแบทเตอรี ขณะที่เครื่องยนต์ทำงานแล้วป้อนกระแสไฟไปให้อุปกรณ์ไฟฟ้ารวมทั้งตัวเพาเวอร์แอมพ์ อุปกรณ์ตัวนี้จะผลิตกระแสไฟ ระหว่าง 30-60 แอมแพร์
ALTERNATOR WHINE
หมายถึง เสียงความถี่สูงเกิดจากเครื่องทำกระแสไฟ ที่ขยายผ่านเข้าทางระบบเสียงเนื่องจากติดสายลงดินไม่แน่น ดูเพิ่มจากคำ GROUND LOOP
ALUMINIUM ALLOY
หมายถึง โลหะผสมชนิดหนึ่ง นิยมนำมาทำโดมทวีเตอร์
AMP-RAC
หมายถึง แผงติดตั้งแอมพ์ที่สร้างจากโลหะ สามารถยึดแขวนได้
ANGLE ALGNMENT
หมายถึง การปรับตั้งมุม หรือทิศทางของลำโพง
APERIODIC
หมายถึง ประเภทตู้ซับวูเฟอร์ ที่ออกแบบขึ้นเพื่อเพิ่มช่วงความถี่
AUX (AUXILARY)
หมายถึง ช่องสัญญาณเข้า (เสริม)
AXIS
หมายถึง ทิศทางของเสียจากลำโพง เช่น ON-AXIX ทิศทางของลำโพงหันไปยังหูผู้ฟังโดยตลอด
B
Balanced connections
หมายถึง การต่อวงจรไฟฟ้าแบบบาลานซ์ เพื่อจัดการให้สัญญาณไม่ว่าขั้วบวกหรือขั้วลบ เปลี่ยนไปจากปกติ ยิ่งเป็นสัญญาณบวกมาเทียบกับระดับอ้างอิง (หมายถึง การลงกราวด์) การต่อสัญญาณแบบบาลานซ์ คือการใช้สัญญาณบวกและลบผ่านมาในตัวนำที่มีการซีลด์ (หุ้มฉนวน) มาอย่างดี เพื่อป้องกันสัญาณรบกวน การต่อแบบนี้นิยมใช้กันในห้องบันทึกเสียงและชุด PA เนื่องจากต้องเดินสายเป็นระยะทางยาวๆ ดังนั้น โอกาสที่สอดแทรกเข้าสู่ระบบเสียงจึงมีอยู่สูง
Bass
หมายถึง ความถี่ต่ำและเป็นระดับเสียงตัวที่ 5 ของทางเสียงดนตรี เสียงเบสที่ดีนั้นหมายถึง การถ่ายทอดเสียงของเครื่องดนตรีที่เล่นเป็นริธึ่มออกมาได้ชัดเจน
Bass reflex
หมายถึง รูปแบบหนึ่งของการออกแบบตู้ลำโพง เพื่อให้เกิดการอัดคลื่นในตู้ผ่านท่อออกมาในย่านความถี่ต่ำ ซึ่งทำให้เสียงเบสที่ได้นั้นหนักแน่นขึ้น
ฺBiamping
หมายถึง รูปแบบของการต่อเพาเวอร์แอมป์เข้าไปกับซับวูฟเฟอร์ ลำโพงมิดเร้นจ์ และทวีตเตอร์ โดยใช้เพาเวอร์แอมป์ 2 ตัว และใช้เพาเวอร์แอมป์ตัวแรกขับซับวูฟเฟอร์โดยตรง ส่วนตัวที่สองใช้ขับลำโพงมิดเร้นจ์และทวีตเตอร์
Binding post
หมายถึง วงแหวนของขั้วต่อสายลำโพงที่สามารถต่อเล่นแบบไบวายร์ หรือต่อเล่นเป็นแบบธรรมดา
Bit
หมายถึง ข้อมูลทางสัญญาณดิจิตอล ซึ่งแบ่งออกเป็นช่วงสั้นๆ ของชุดสัญญาณ เช่น อาจเป็น 8 Bit, 14 Bit ซึ่งจะบอกถึงความแรงของสัญญาณในช่วงหนึ่งๆ ของเครื่องเล่น CD, DVD, Video CD
ฺBitstream
หมายถึง วิธีการเปลี่ยนสัญญาณดิจิตอลมาเป็นสัญญาณนาล็อกสำหรับซีดี ตัวแปลงสัญญาณในระบบ Bitstream นี้ จะจัดการถอดรหัสดิจิตอลด้วยความเร็วสูงกว่าระบบ DAC ทำให้มีความต่อเนื่องราบเรียบกว่า
Biwiring
หมายถึง การต่อสายลำโพงสองชุด แยกสำหรับวูฟเฟอร์และมิดเร้นจ์ ทวีตเตอร์ ลดการรบกวนในสายลำโพง
Bridging
หมายถึง การเพิ่มกำลังขับของเพาเวอร์แอมป์ให้มากขึ้น ด้วยการให้สัญญาณจากขั้วบวกของแชนแนลที่หนึ่งและขั่วลบของแชนแนลที่สองของเพาเวอร์แอมป์ ต่อเข้าบวกลบของลำโพงโดยตรง ในกรณีที่ต้องการเล่นเป็นสเตอริโอนั้น ก็ใช้เพาเวอร์แอมป์สองตัว การต่อแบบริจด์นี้ส่วนใหญ่ใช้ต่อเพื่อขับซับวูฟเฟอร์ ไม่รวมถึงทวีตเตอร์เพราะกำลังขับสูงๆ อาจทำให้ทวีตเตอร์เสียหายโดยง่าย
BASS CONTROL
หมายถึง การปรับแต่งเสียงเบสส์
BASS UP FRONT
หมายถึง เสียงเบสส์จากด้านหลังแผ่มาถึงด้านหน้า
BANDPASS
หมายถึง ตู้ซับวูฟเฟอร์ชนิดที่มี 2 ห้อง ซ่อนตัวลำโพงด้านในติดตั้งที่ผนังตู้บริเวณที่อยู่ในตู้ หรือการตัดความถี่เป็นช่วง
BANDWIDTH
หมายถึง เกี่ยวกับภาคทูเนอร์ วงจรในเพาเวอร์แอมพ์หรือ ครอสส์โอเวอร์เป็นช่วงความถี่ระหว่าง 2 จุด
BRIDGE MONO
หมายถึง การต่อสัญญาณเอาท์พุทเพาเวอร์แอมพ์จาก 2 แชนแนลเป็น 1 แชนแนลเพื่อให้ได้กำลังขับเพิ่มขึ้น
BUTTERWORTH
หมายถึง ประเภทวงจรตัดความถี่ในครอสส์โอเวอร์ ที่ให้สัญญาณแฟลท
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  
 
ติด Banner ด้านล่างติดต่อ boransat@gmail.com
กระทู้ ความคิดเห็น บทความ ข้อความใด ๆที่ได้อ่านในบอรดนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแล ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและ ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย ศิลธรรม กรุณาแจ้งมาที่ boransat@gmail.com เพื่อที่ทีมงานจะได้ดำเนินการต่อไป



เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.7 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.021 วินาที กับ 19 คำสั่ง