จำได้ว่าที่บ้านเคยมีกะทะเหล็กใบนึงหนาและหนักมาก สมัยที่ยังเด็กๆเคยเห็นแม่ใช้กวนข้าวเหนียวแดง
เวลาศาตร์ไทยปัจจุบันเลิกใช้แล้ว แม่ผมปล่อยทิ้งให้จมน้ำจมดินในโรงเก็บของเก่า สนิมขึ้นหนาเปรอะมาก
สอบถามได้ความว่ากะทะใบนี้แม่ซื้อมาใบละ สี่บาท สมัยหลังสงครามโลกช่วงที่แม่ยังล่องเรือเอี่ยมจุ๊นไปขายข้าวเปลือกอยู่
และแม่ผมได้ซื้อมากวนข้าวเหนียวแดง อายุกะทะน่าจะราวๆหกเจ็ดสิบปี ผมยังไม่เกิดน่ะ
เลยคิดจะเอามาเล่นบ้างตามที่ได้เห็นกูรูหลายท่านในบอร์ดใช้สารพัดเอามาดัดแปลงรับสัญญาณดาวเทียม
ก็ขอแม่มา เอาหินเจียรขัดสนิมออกเพิ่งจะทาสีเสร็จครับ
กะทะกว้าง 67 cm dept 19 cm ลองคำนวนจุดโฟกัส LNB distance to antenna (F)ได้14.77cm
ขั้นตอนการนำกระทะเก่ามาเป็นของเล่นชิ้นใหม่ครับ เริ่มจากเอากระทะเก่ามาขัดสนิมและทาสี
ก่อนดำเนินการทำขายึด ก็ได้ลองคำนวณหาจุดโฟกัสคร่าวเพื่อเอามาเป็น Guide line
จุดประสงค์การเอากระทะมาดัดแปลงรับสัญาณดาวเทียมในครั้งนี้ ตั้งจุดประสงค์ไว้ว่า
จะต้องไม่ทำให้กระทะใบนี้เสียหายหรือบุบสลายแต่อย่างใด จึงเริ่มทำขายึดกระทะ
ขายึดด้านหน้าก่อน
ขายึดด้านหลังกระทะ
เช็คความลึกของกระทะ
งาน fabricate จานดาวเทียมจากกระทะ ในดรงเก็บของเก่าวันหยุดเสาอาทิตย์
ทำขายึดสำหรับตั้ง Angle Finder \(อุปกรณ์วัดองศา)
หลังจากงาน fabricate frame ยึดจานรับสัญาณเสร้จแล้วก้ยกมาตั้งกลางแจ้ง ปรับระดับปรับองศาอีกครั้งเพื่อเตรียมประกอบ LNB
ประกอบอุปกรณ์ทั้งหมดเสร็จก็เริ่มแกว่งหาสัญญาณไปที่ NSS6 ก่อนเป็นดาวดวงแรก
ภาพนี้มองจากด้านข้างครับ
ภาพนี้ดูจากด้านหลังของFrame จะเห็นว่าจานสามารถ หมุนหามุมส่ายได้โดยมีสกรู ¾ เจาะร้อยรูยึดตรงกลาง
พร้อมปรับมุมก้มเงยได้ ด้วย Adjust Screw M12 เมื่อปรับค่าต่างๆได้หมดแล้ว ก็จะมีสกรูล๊อค M12 ให้แน่นป้องกันการหมุนเคลื่อนตัวของจานได้เช่นกัน
สัญญาณภาพของ NSS6 แกว่งหาได้ภายในสิบห้านาที สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเข้าวงการดาวเทียมได้ประมาณหนึ่งเดือน
ก็คงต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ต่อไป ซึ่งก็คงจะไปแกว่งหาสัญญาณ ไทยคม ku-band เช่นกันครับ