ชื่อ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
27, พฤศจิกายน 2024, 07:01:47 am
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: :: ด่วน! ท่านใดต้องการรับบอร์ดนี้ไปดูแล ติดต่อ boransat@gmail.com ::

dvb

+  บอร์ดโบราณ ดาวเทียม - HD player - CCTV
|-+  อุปกรณ์เครื่องรับดาวเทียมทีวีดิจิตอล
| |-+  ถามตอบปัญหาดาวเทียมและทีวีดิจิตอล
| | |-+  ช่วงนี้ฝนตกแล้ว ฟ้าก็แรง ป้องกันอุปกรณ์กันอย่างไรบ้างครับ
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ช่วงนี้ฝนตกแล้ว ฟ้าก็แรง ป้องกันอุปกรณ์กันอย่างไรบ้างครับ  (อ่าน 11273 ครั้ง)
นครนายก
บุคคลทั่วไป


อีเมล์
« เมื่อ: 25, พฤษภาคม 2010, 09:42:44 pm »

คือช่วงนี้ฝนตก ฟ้าก็แรงมาก ปกติผมจะถอดปลั๊กไฟที่ตัวรีเซฟเวอร์ออกอย่างเดียว ไม่ทราบว่าจำเป็นไหมครับที่จะต้องถอดสาย RG 6 ที่หลังเครื่องรีเซฟเวอร์ออกไหมครับ ฟ้ามันจะลงไหมครับ ขอบคุณครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
satellite home
Hero Member
*****
กระทู้: 1,200


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: 25, พฤษภาคม 2010, 09:50:29 pm »

ถ้าเครื่องรับทั่วไปน่าจะแค่ถอดปลั๊กไฟออกนะครับ
ถ้าเป็นดีบี ก้อควรถอดสายแลนออกด้วยนอกจากสายไฟ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
นครนายก
บุคคลทั่วไป


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: 25, พฤษภาคม 2010, 09:55:28 pm »

ผมใช้รีเซฟเวอร์ธรรมดาอ่ะครับ(รุ่น S-7) อยากรู้ว่าจำเป็นไหมอ่ะครับที่ต้องถอดสาย RG6 ที่หลังเครื่องอ่ะครับตอนฝนตกฟ้าร้องอ่ะครับ กลัวฟ้าลงอ่ะครับ  ขอบคุณครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
เมี้ยว เมี้ยว
บุคคลทั่วไป


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: 25, พฤษภาคม 2010, 10:19:17 pm »

ผมใช้รีเซฟเวอร์ธรรมดาอ่ะครับ(รุ่น S-7) อยากรู้ว่าจำเป็นไหมอ่ะครับที่ต้องถอดสาย RG6 ที่หลังเครื่องอ่ะครับตอนฝนตกฟ้าร้องอ่ะครับ กลัวฟ้าลงอ่ะครับ  ขอบคุณครับ

ของผมเอง ถอดปลั๊ก กับถอดสายRG6 ออกเลยครับ

ผมใช้หัวต่อแบบที่สามารถดึงเข้า-ออกได้เลย เลยไม่ต้องมาหมุนให้เมื่อยนิ้ว
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
jay
Special Member
*
กระทู้: 2,848



อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: 25, พฤษภาคม 2010, 11:04:30 pm »

ปกติฟ้าจะไม่ลงที่หน้าจานและหัวlnb ส่วนมากที่เจอจะลงตามต้นไม้หรือเสาไฟฟ้าแรงสูง
แล้ววิ่งเข้าไฟบ้าน อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เสียบปลั็กอยู่ เสร็จทุกราย ของผมจะถอดแค่ปลั็ก ทีวี กับ เครื่องรับ
สาย RG6 ไม่เคยถอด แต่ถ้าจานอยู่บนที่สูงเช่น คอนโด หรือตึกสูง ควรถอดดีกว่า กันไว้ก่อนครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
WWWHS7ETD
Hero Member
*****
กระทู้: 1,049



อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: 26, พฤษภาคม 2010, 09:03:42 am »

ต้องต่อสายดิน ที่แน่ๆควรต่อที่ LNB หรือที่ตัวแยกต่างๆที่เป็นโลหะ (บางเครื่องในคู่มือแนะนำไว้)ลงทุนไม่มากแต่สบายใจกว่า และถอดสายออกจากเครื่องด้วย
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
00-7
บุคคลทั่วไป


อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: 26, พฤษภาคม 2010, 12:25:00 pm »

ใช้จานดาวเทียมมาหลายปีแล้วครับตั้งแต่จานใหญ่ๆอนาลอก สองหมื่นกว่า ไม่เคยโดนฟ้าฝ่า ไม่เคยถอดปลักตอนฝนตก แค่ปิดสวิทส์ tv กับ เครื่องรับเท่านั้นเอง ถ้าฟ้าฝ่าก็ถือว่าซวยไปซื้อใหม่
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
ไฟฟ้า
บุคคลทั่วไป


อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: 26, พฤษภาคม 2010, 01:51:55 pm »

ต้องต่อสายดิน ที่แน่ๆควรต่อที่ LNB หรือที่ตัวแยกต่างๆที่เป็นโลหะ (บางเครื่องในคู่มือแนะนำไว้)ลงทุนไม่มากแต่สบายใจกว่า และถอดสายออกจากเครื่องด้วย

ไม่ถูกต้องครับ
การต่อสายดิน คงต้องทำความเข้าใจใหม่
สายดินคือสายที่ป้องกันไฟรั่ว ในสภาวะปกติ ไม่ใช่ฟ้าลง(ถ้าจะอธิบายแบบน้ำก็คือถ้าน้ำรั่ว ก็ต่อท่อน้ำลงท่อระบาย เพื่อไม่ให้แฉะบริเวณบ้าน)
** ระบบล่อฟ้า ไม่ใช่ระบบสายดิน**


วิธีที่ถูกต้องคือ ถอดปลั๊กไฟออก ครับ....ตามที่คุณ Jay ว่า

และที่สำคัญ คือการอธิบายกับลูกค้า ในช่วงติดตั้งว่าไม่รับประกัน ฟ้าผ่า
ผมเห็นมี PSI ที่โม้เกินจริง สุดท้ายก็เป็นปัญหาที่ช่างติดตั้ง ฟ้ามาทีไร PSI ถือมาเป็นกอง

ผมทำงานในระบบสายส่งไฟฟ้า
ต้องบอกตามจริง ยังไม่มีเทคโนโลยีไหน ที่ป้องกันฟ้าได้
ผ่าตรงไหน พังตรงนั้น ผ่าคน คนตาย ผ่าวัว วันตาย ผ่าสายไฟ สายขาด
...ส่วนที่ติดอุปกรณ์ป้องกัน ก้เพียงแค่ช่วยบรรเทา ในกรณีที่ผ่าเฉียด หรือ ไม่รุนแรงเท่านั้น
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
WWWHS7ETD
Hero Member
*****
กระทู้: 1,049



อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: 26, พฤษภาคม 2010, 02:33:36 pm »

เครื่อง ดาวเทียม DRAKE ในคู่มือเขาบอกวิธีต่อไว้ให้
การต่อสายดิน ป้องกันได้จากผ่อนหนักเป็นเบา
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
1111
บุคคลทั่วไป


อีเมล์
« ตอบ #9 เมื่อ: 26, พฤษภาคม 2010, 05:28:05 pm »

ต่อสายดินนั่นแหละถูกแล้ว  ป้องกันไฟรั่ว --ที่สำคัน ป้องกันไฟฟ้าแรงสูงกระเพื่อมเวลาเกิดฝนฟ้าคะนอง (ซึ่งปนมากับไฟบ้าน) ไม่ให้อุปกรไฟฟ้าเสียหาย
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
ดูดี
บุคคลทั่วไป


อีเมล์
« ตอบ #10 เมื่อ: 26, พฤษภาคม 2010, 09:06:24 pm »

วิธีที่ดี่ นำสายไฟที่เป็น N ลงสายดินทีดี เหตุผลก็คือเวลาที่ฟ้าผ่าจะผ่านมาทาง ระบบไฟฟ้าจากแรงสูงและแรงต่ำ จากนั้นก็เข้ามาที่เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อุปกรณ์จะพังหมด ถ้าหากเป็นระบบสามสาย ก็ยิ่งหนัก ที่บ้านผมใช้ระบบสามสายอยู่ลืมจ่ายค่าไฟ  ถูกตัดมิเตอร์ ตอนตัดไฟ คนตัดดึงสายนิวตรอนออกก่อนทำให้ไฟ 380v ไหลเข้าเครื่องใช้ไฟพังหมด ผมได้แจ้งความการไฟฟ้าให้ชดใช้ ค่าเสียหายทั้งหมด เป็นข่าวฮือฮาในจังหวัดอยู่พักนึง
 
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
ไฟฟ้ามาเอง
บุคคลทั่วไป


อีเมล์
« ตอบ #11 เมื่อ: 26, พฤษภาคม 2010, 09:11:19 pm »

ต่อสายดินนั่นแหละถูกแล้ว  ป้องกันไฟรั่ว --ที่สำคัน ป้องกันไฟฟ้าแรงสูงกระเพื่อมเวลาเกิดฝนฟ้าคะนอง (ซึ่งปนมากับไฟบ้าน) ไม่ให้อุปกรไฟฟ้าเสียหาย
ไม่ถูกต้องครับ
กรณีต่อสายดิน จะมีประโยชน์กับไฟรั่ว ไฟดูด  เท่านั้น  ไม่ช่วยเรื่อง ไฟเกิน  ไฟช๊อต
เช่นตู้เย็น เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เป็นโครงโลหะ หากไฟรั่ว แล้วไม่มีสายดินให้มัน มันก็จะ ดุด คนที่ไปสัมผัส

ต้องทำความเข้าใจเรื่อง  ไฟรั่ว  ไฟดูด   ไฟช๊อต  ไฟเกิน  กันครับ

1.ไฟรั่ว คือระบบไฟที่รั่วจากการที่ ระบบฉนวนชำรุด(เปลือกสายไฟ) ผลเสียก็คือทำให้เสียค่าไฟมากขึ้น
**เปรียบกับท่อน้ำที่บ้านท่านรั่วซึม ทั้งวัน นั่นหละ**
2. ไฟดูด ก็คือ กรณีที่คนไปสัมผัสถูกกระแสไฟฟ้า เช่นไฟรั่วลงโครงตู้เย็น แล้วเราไปแตะ หรือไฟไม่ได้รั่ว แต่ท่านไปสัมผัสโดยตรง เช่นปลักไฟ สายไฟ
3.ไฟช๊อต (ลัดวงจร) คือ กรณีที่สายไฟ 2 เส้นแตะกัน (ถ้าเปรียบเทียบกับน้ำก็คือ ท่อแตก นั่นละ)
4.ไฟเกิน เกิน 2 ลักษณะ คือเกินจากกระแส และเกินจากแรงดัน  แต่ปัญหาที่เกิดก็คือเกิดจาก เกินจากแรงดัน เนื่องจากฉนวนทนไม่ได้ (เปรียบกับน้ำ ก็คือท่อปริ เนื่องจากท่อที่เราใช้มันบาง รับแรงดันน้ำไม่ได้)

***กรณีฟ้าผ่า  เกิดปัญหาคือแรงดันเกินไปเป็น แสนๆ โวลท์ ซึ่งส่วนมากไม่ผ่าจานเนื่องจากติดตั้งต่ำ  มันจะผ่าเสาอากาศ หรือสายไฟ** เมื่อแรงดันเกินก็ วิ่งตามสายไฟไปตามบ้านท่าน อุปกรณ์ที่พังก่อนก็คืออุปกร๋ประเภทอิเลคทรอนิคส์ ส่วนพวกขดลวด จะมีความทนได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง****

**ถามว่า ต่อสายดินมีประโยชน์ป้องกันฟ้าไหม ตอบว่าไม่ เพราะสายดิน เราจะต่อที่โครงอุปกรณ์(ไม่ได้ต่อที่สายไฟ)
ในทางกลับกัน กับเป็นโอกาสให้ ไฟวิ่งกระโดดข้ามจากสายไฟเราไปลงดินได้เสียอีก(ผลเสีย)**
***แค่นี้ก่อนครับ***

แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
stam
Newbie
*
กระทู้: 7


อีเมล์
« ตอบ #12 เมื่อ: 26, พฤษภาคม 2010, 10:22:44 pm »

สรุปก็คือ ไม่มีอะไรกันฟ้าผ่าได้ นั้นเองครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
ชายไทยไม่ทราบชื่อ
บุคคลทั่วไป


อีเมล์
« ตอบ #13 เมื่อ: 27, พฤษภาคม 2010, 09:15:19 am »

ต้องต่อสายดิน ที่แน่ๆควรต่อที่ LNB หรือที่ตัวแยกต่างๆที่เป็นโลหะ (บางเครื่องในคู่มือแนะนำไว้)ลงทุนไม่มากแต่สบายใจกว่า และถอดสายออกจากเครื่องด้วย

ไม่ถูกต้องครับ
การต่อสายดิน คงต้องทำความเข้าใจใหม่
สายดินคือสายที่ป้องกันไฟรั่ว ในสภาวะปกติ ไม่ใช่ฟ้าลง(ถ้าจะอธิบายแบบน้ำก็คือถ้าน้ำรั่ว ก็ต่อท่อน้ำลงท่อระบาย เพื่อไม่ให้แฉะบริเวณบ้าน)
** ระบบล่อฟ้า ไม่ใช่ระบบสายดิน**


วิธีที่ถูกต้องคือ ถอดปลั๊กไฟออก ครับ....ตามที่คุณ Jay ว่า

และที่สำคัญ คือการอธิบายกับลูกค้า ในช่วงติดตั้งว่าไม่รับประกัน ฟ้าผ่า
ผมเห็นมี PSI ที่โม้เกินจริง สุดท้ายก็เป็นปัญหาที่ช่างติดตั้ง ฟ้ามาทีไร PSI ถือมาเป็นกอง

ผมทำงานในระบบสายส่งไฟฟ้า
ต้องบอกตามจริง ยังไม่มีเทคโนโลยีไหน ที่ป้องกันฟ้าได้
ผ่าตรงไหน พังตรงนั้น ผ่าคน คนตาย ผ่าวัว วันตาย ผ่าสายไฟ สายขาด
...ส่วนที่ติดอุปกรณ์ป้องกัน ก้เพียงแค่ช่วยบรรเทา ในกรณีที่ผ่าเฉียด หรือ ไม่รุนแรงเท่านั้น
  ตอบได้ดีครับ โดนใจหลายๆคนครับ

เป็นคำตอบที่ดีที่สุด ยืนยันอีกเสียง เพราะผมก็ทำงานเกี่ยวกับระบบสายส่งไฟฟ้า
ไม่มีอะไรป้องกันฟ้าฝ่าได้..ถ้า..เกิดใกล้เรามากๆๆ....
ปกติสายไฟฟ้าแรงต่ำบริเวณเสาต้นสุดท้ายเขาจะติดล่อฟ้าแรงต่ำ เมื่อเวลาฟ้าฝ่าจะมีไฟจากสายฟ้าอินดิวเข้าในสายไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าที่ใหลเกินในสายจะบายพาสออกมาทางล่อฟ้าแรงต่ำครับ ระยะประมาณ 800 เมตรขึ้นไป ถ้าใกล้สายกว่า 800 เมตร ก็กันไม่ได้ครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
abc1
บุคคลทั่วไป


อีเมล์
« ตอบ #14 เมื่อ: 27, พฤษภาคม 2010, 08:54:55 pm »

ตัวที่จะมาป้องกันฟ้าผ่าได้คือสายล่อไฟมิใช่หรือครับ ไม่ทราบว่าจะช่วยได้แค่ไหน?

ขอความรู้ด้วยครับ
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
ไฟฟ้ามาเอง
บุคคลทั่วไป


อีเมล์
« ตอบ #15 เมื่อ: 28, พฤษภาคม 2010, 04:59:10 am »

ตัวที่จะมาป้องกันฟ้าผ่าได้คือสายล่อไฟมิใช่หรือครับ ไม่ทราบว่าจะช่วยได้แค่ไหน?

ขอความรู้ด้วยครับ
**สายล่อฟ้า  ไม่ได้ป้องกันฟ้าผ่า
    แต่เป็นตัวล่อ ให้ฟ้าผ่า......
   
...สายล่อฟ้า ป้องกันได้ในระดับหนึ่งครับ เมื่อฟ้าผ่า กระแสจะลงสู่ดินโดยเร็ว ทำให้ไม่เกิดอันตราย ต่อสิ่งที่อยู่ใต้แนวบ้องกัน

**ผมชอบเปรียบเทียบกับน้ำ เวลาผมไปบรรยายให้เด็กๆ ฟังครับ**
ถ้าเปรียบกับระบบท่อระบายน้ำ
การที่บ้านเรา ติดตั้งระบบล่อฟ้า ก็เหมือนกับบ้านเรา ทำทางระบายน้ำไว้

กรณีมีน้ำจากฝนตกลงมา บ้านเราก็จะน้ำไม่ท่วม ไม่แฉะ เพราะเราทำท่อระบายไว้
(ฟ้าผ่าลงมา*เบาๆ* เรามีล่อฟ้าและสายลงดิน บ้านเราก็ปลอดภัย)

กรณีมีฝนตกหนักน้ำป่าไหลหลาก  ถึงท่านมีท่อระบายน้ำ  ยังไง น้ำก็ยังท่วมบ้านท่าน เพราะท่อระบายไม่ได้
(ฟ้าผ่าตรงๆ ยังไงบ้านท่านก็โดน แม้จะมีระบบล่อฟ้า)

ในการทำระบบล่อฟ้า ควรทำเป็นระบบเหมือนต่างประเทศครับ
คือทุกบ้าน ต้องทำ(บังคับ) ไม่ใช่ทำแค่บ้านเรา คนเดียว ฟ้ามาทีไร ลงบ้านเราทุกที
**เหมือนกับทำท่อระบายทุกบ้าน ต้องทำของตัวเอง ไม่ใช่ฝนตกทีไร น้ำก็ไหลมา ลงท่อระบายบ้านเรา ทุกที**

องค์ประกอบมีหลายอย่างครับ
เช่น ทำท่อระบายแล้วท่อต้องไม่ตัน  (สายไม่ขาด)
ท่อต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะระบายให้ทัน  (สายล่อฟ้าต้องใหญ่พอ)

แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
ช่างอีเล็คทรอนิค
บุคคลทั่วไป


อีเมล์
« ตอบ #16 เมื่อ: 04, มิถุนายน 2010, 08:39:13 pm »

นักวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า ฟ้าผ่าที่ศูนย์กลางประมาณ ล้านๆ VOLT
ทำงานไฟฟ้าแล้วเรียนจบมาได้อยางไร กลับไปเรียนอีเล็คทรอนิคอีกรอบดีกว่าก่อนมาตอบ จะได้รู้จริงผู้ที่มาอ่านจะได้ความรู้ที่ถูกต้อง แม้แต่สายโทรศัพท์เขายังต้องต่อสายดินเลย กลับไปดูที่สำนักงานไฟฟ้าว่าเขาต่อจานดาวเทียมอย่างไร
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  
 
ติด Banner ด้านล่างติดต่อ boransat@gmail.com
กระทู้ ความคิดเห็น บทความ ข้อความใด ๆที่ได้อ่านในบอรดนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแล ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและ ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย ศิลธรรม กรุณาแจ้งมาที่ boransat@gmail.com เพื่อที่ทีมงานจะได้ดำเนินการต่อไป



เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.7 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.026 วินาที กับ 20 คำสั่ง