บอร์ดโบราณ ดาวเทียม - HD player - CCTV

อุปกรณ์เครื่องรับดาวเทียมทีวีดิจิตอล => ถามตอบปัญหาดาวเทียมและทีวีดิจิตอล => ข้อความที่เริ่มโดย: ohmza ที่ 31, พฤษภาคม 2021, 12:18:32 pm

dvb



หัวข้อ: ถามเรื่องจานทึบ 120 ซม. กับจานตะแกรง 150 ซม. รับ C-Band
เริ่มหัวข้อโดย: ohmza ที่ 31, พฤษภาคม 2021, 12:18:32 pm
สอบถามครับว่าจานทึบ 120 ซม. กับจานตะแกรง 150 ซม. หากนำมาใส่หัว C-Band ทั้งคู่จานไหนจะรับสัญญาณได้ดีกว่ากันครับ


หัวข้อ: Re: ถามเรื่องจานทึบ 120 ซม. กับจานตะแกรง 150 ซม. รับ C-Band
เริ่มหัวข้อโดย: yyy ที่ 31, พฤษภาคม 2021, 01:54:33 pm
เดาว่า ถ้า C band น่าจะจานตะแกรงครับ เคยใช้จานทีบ 6 ฟุต รับช่องไทย จาก PALAPA แพ้ 7.5 ของสามารถครับ


หัวข้อ: Re: ถามเรื่องจานทึบ 120 ซม. กับจานตะแกรง 150 ซม. รับ C-Band
เริ่มหัวข้อโดย: srw ที่ 31, พฤษภาคม 2021, 08:40:26 pm
มันก็รับใกล้เคียงกัน สัญญารไม่ต่างกัน ขึ้นอยู่ที่ปรับหน้าจานมากกว่าครับ  ต่างกันที่จานทึบ มันต้านลมได้ดีกว่าจานตะเกรง  ถ้าต้องการรับลมได้ดีกว่าก็เลือกจานทึบครับ


หัวข้อ: Re: ถามเรื่องจานทึบ 120 ซม. กับจานตะแกรง 150 ซม. รับ C-Band
เริ่มหัวข้อโดย: phot9724 ที่ 01, มิถุนายน 2021, 02:06:37 am
-ถ้าขนาดของหน้าจานมีขนาดเท่ากัน จานทึบจะรับสัญญาณได้ดีกว่าครับ แต่ก็ต้องยอมรับความหนัก และแรงต้านทานลมที่มากกว่า ต้องตั้งฐานเสาให้แข็งแรง มากกว่าจานตระแกรง


หัวข้อ: Re: ถามเรื่องจานทึบ 120 ซม. กับจานตะแกรง 150 ซม. รับ C-Band
เริ่มหัวข้อโดย: tv59 ที่ 01, มิถุนายน 2021, 07:19:37 am
คำว่าดีกว่าคืออะไร ?

เอาค่าไหนเป็นหลัก ค่า POWER CN MER LM BER


หัวข้อ: Re: ถามเรื่องจานทึบ 120 ซม. กับจานตะแกรง 150 ซม. รับ C-Band
เริ่มหัวข้อโดย: ohmza ที่ 01, มิถุนายน 2021, 10:28:06 am
คำว่าดีกว่าคืออะไร ?

เอาค่าไหนเป็นหลัก ค่า POWER CN MER LM BER
ถ้าหากท่านสะดวกรบกวนทดลองมาให้ดูหน่อยครับ


หัวข้อ: Re: ถามเรื่องจานทึบ 120 ซม. กับจานตะแกรง 150 ซม. รับ C-Band
เริ่มหัวข้อโดย: tv59 ที่ 01, มิถุนายน 2021, 10:39:16 am
เท่าที่เคยทำมา จานใหญ่ขึ้น ค่า POWER แทบจะเท่าเดิม แทบไม่ต่างกัน

จะให้ค่า POWER มากขึ้น ต้องหัว LNB ที่มี Gain สูงๆมาใส่จะได้ค่า POWER เพิ่มขึ้นครับ

ส่วนค่า MER จานใหญ่จะได้มากขึ้นครับ

ส่วนค่า BER  ขึ้นอยู่กับ LNB ครับ


หัวข้อ: Re: ถามเรื่องจานทึบ 120 ซม. กับจานตะแกรง 150 ซม. รับ C-Band
เริ่มหัวข้อโดย: tv59 ที่ 01, มิถุนายน 2021, 10:50:31 am
(https://sv1.picz.in.th/images/2021/06/01/PHyzeb.jpg)

ตัวอย่างค่าต่างๆ จากจานเดียวกัน แต่หัวคนละเบอร์ ยี้ห้อเดียวกัน และเบอร์ใหญ่ด้วยกันทั้ง 3 หัว

*** คำว่าหัวเบอร์ใหญ่คือหัวที่ หัวละ 600 บาท 

(หัวเล็กคือหัวที่ ร้อยกว่าสองร้อยบาท)

หัวกลาง ราคา300-400 บาท

ประ สรุปจานใหญ่จะรับสัญญาณได้แข็งแรงกว่าครับ (ค่า MER สูงกว่า) จากประสบการณ์ที่ทำมา ประมาณนี้ครับ



หัวข้อ: Re: ถามเรื่องจานทึบ 120 ซม. กับจานตะแกรง 150 ซม. รับ C-Band
เริ่มหัวข้อโดย: tv59 ที่ 01, มิถุนายน 2021, 11:04:28 am
*** พูดตกไปนิดหนึ่ง จานที่ขนาดต่างกันไม่มาก เช่น 120-150 จะได้ผลตามที่แจ้งไปครับ

หรือ KU 75 กับ 120 ก็เช่นกัน

แต่ถ้าขนาดต่างกันมากๆผลจะอีกเรื่องครับ เช่น 5 ฟุต กับ 10 ฟุต ค่าต่างๆจะต่างกันมากครรับ


หัวข้อ: Re: ถามเรื่องจานทึบ 120 ซม. กับจานตะแกรง 150 ซม. รับ C-Band
เริ่มหัวข้อโดย: ohmza ที่ 01, มิถุนายน 2021, 02:59:03 pm
แสดงว่าจานทึบซึ่งมีพื้นผิวที่สามารถสะท้อนสัญญาณได้มากกว่าไม่ได้มีผลอะไรกับค่า MER ถูกมั้ยครับ ขนาดจานเท่านั้นที่มีผล


หัวข้อ: Re: ถามเรื่องจานทึบ 120 ซม. กับจานตะแกรง 150 ซม. รับ C-Band
เริ่มหัวข้อโดย: tv59 ที่ 01, มิถุนายน 2021, 03:51:51 pm
เท่าที่ทดสอบมา เป็นเช่นนั้นครับ

*** ความถี่ของ C BAND หรือแลมด้าของ C BAND แค่จานตาค่ายก็พอแล้วคับ

*** ข้อมูลผมอาจผิดก็ได้ครับ ยังไม่ต้องเชื่อก็ได้ครับ ผมแค่มาเล่าประสบการณ์ของผมให้ฟังเฉยๆครับ


หัวข้อ: Re: ถามเรื่องจานทึบ 120 ซม. กับจานตะแกรง 150 ซม. รับ C-Band
เริ่มหัวข้อโดย: WWWHS7ETD ที่ 01, มิถุนายน 2021, 08:32:42 pm
จานทึบเป็นจานมาตรฐาน สะท้อนสัญญาณได้ดี ตามสถานีจึงใช้ รับ ส่ง สัญญาณ จานใหญ่รับสัญญาณได้แรงดีจริงๆเคยลองเอา LNB ที่เราใช้ไปวางใกล้เครื่องรับก็รับได้แล้ว(ใช้ที่สถานีใช้ จานขนาด 6 เมตร ส่วนรถโมบายใช้ 1.5 เมตร)
จะเห็นได้จากจาน Ku Band PSI ตะแกรง(สมัยก่อนจะรับได้ไม่ดี ใครเคยใช้บ้าง)


หัวข้อ: Re: ถามเรื่องจานทึบ 120 ซม. กับจานตะแกรง 150 ซม. รับ C-Band
เริ่มหัวข้อโดย: Nim ที่ 02, มิถุนายน 2021, 07:47:22 am
 จานทึบ 120cm. คงไม่ได้หมายถึงจานออฟเซท น่ะ คงเป็นจานแบบหัวฟีดอยู่กลาง Prime focus ถ้าอย่างหลังนี่มีอะไรก็ใช้ไปครับ


หัวข้อ: Re: ถามเรื่องจานทึบ 120 ซม. กับจานตะแกรง 150 ซม. รับ C-Band
เริ่มหัวข้อโดย: dacho ที่ 02, มิถุนายน 2021, 10:13:42 pm
จานขนาดใหญ่จะรับสัญญาณได้ดีกว่าจานขนาดเล็กอยู่แล้ว

จำได้ว่าหลายปีมาแล้วเคยมีการผลืต จานแบบทึบออกมาขายเพื่อรับรายการระบบ ซี แบนด์

คุ้นๆว่าเป็นจานสีฟ้าหรือสีขาว อันนี้ไม่แน่ใจ แต่ ไม่มีข้อมูลว่า รับสัญญาณได้ดีกว่า จานแบบตะแกรงหรือไม่


หัวข้อ: Re: ถามเรื่องจานทึบ 120 ซม. กับจานตะแกรง 150 ซม. รับ C-Band
เริ่มหัวข้อโดย: yyy ที่ 03, มิถุนายน 2021, 01:34:33 pm
จานขนาดใหญ่จะรับสัญญาณได้ดีกว่าจานขนาดเล็กอยู่แล้ว

จำได้ว่าหลายปีมาแล้วเคยมีการผลืต จานแบบทึบออกมาขายเพื่อรับรายการระบบ ซี แบนด์

คุ้นๆว่าเป็นจานสีฟ้าหรือสีขาว อันนี้ไม่แน่ใจ แต่ ไม่มีข้อมูลว่า รับสัญญาณได้ดีกว่า จานแบบตะแกรงหรือไม่

ไม่ทราบว่าเคยเห็นจานทีบ 6 ฟุต กับเครื่องรับ Topsat มั้ย มันใช้รับ Asiasat 1 ดูสตาร์ทีวีฟรี  ผมหมุนไปดูช่อง 7 ที่  Palapa  ไม่ต่างกับสามารถโปร่ง 6 ฟุตเท่าไหร่ครับ สมัยอนาล็อก สัญญาณจะมี 3 ระดับ ทั้งสองจานได้ระดับ 2 มีสโนว์บ้างเหมือนๆกัน


หัวข้อ: Re: ถามเรื่องจานทึบ 120 ซม. กับจานตะแกรง 150 ซม. รับ C-Band
เริ่มหัวข้อโดย: dacho ที่ 04, มิถุนายน 2021, 07:59:10 am
จานรุ่นนั้นไม่เคยใช้ครับ ส่วนจานทึบที่ผมบอกมาไม่นานขนาดนั้นครับ แต่ผมจำไม่ได้ว่าเป็นของยี่ห้ออะไร

จริงๆแล้วในการใช้รับสัญญาณดาวเทียม ขนาดจานที่เท่ากันการรับสัญญาณ จานทึบ จานตะแกรง ก็ไม่ต่างกัน

ส่วนว่า จะใช้จานแบบไหน ขนาดเท่าไร จะขึ้นกับวัตถุประสงค์ในการใช้งานเป็นหลัก


หัวข้อ: Re: ถามเรื่องจานทึบ 120 ซม. กับจานตะแกรง 150 ซม. รับ C-Band
เริ่มหัวข้อโดย: tv59 ที่ 05, มิถุนายน 2021, 03:13:38 pm
เอาหลักฐานมาให้ดู ดูกันให้ชัดๆ ว่าแรงหรือไม่แรง จะดูค่าไหนก็ดูเอานะครับ

(https://sv1.picz.in.th/images/2021/06/05/PekHOu.jpg)

(https://sv1.picz.in.th/images/2021/06/05/Pek830.jpg)

(https://sv1.picz.in.th/images/2021/06/05/PekVaZ.jpg)

(https://sv1.picz.in.th/images/2021/06/05/PekazI.jpg)

(https://sv1.picz.in.th/images/2021/06/05/PekpxP.jpg)


หัวข้อ: Re: ถามเรื่องจานทึบ 120 ซม. กับจานตะแกรง 150 ซม. รับ C-Band
เริ่มหัวข้อโดย: dacho ที่ 06, มิถุนายน 2021, 11:27:02 am
เป็นข้อมูลที่ดี ไม่แน่ใจว่าจานทึบที่ใช้ทดสอบเป็นจานขนาดเท่าไร


หัวข้อ: Re: ถามเรื่องจานทึบ 120 ซม. กับจานตะแกรง 150 ซม. รับ C-Band
เริ่มหัวข้อโดย: tv59 ที่ 06, มิถุนายน 2021, 11:45:58 am
ไม่แนะใจ ทำไม่ได้แล้วปรระมาณ 140-150 cmครับ



หัวข้อ: Re: ถามเรื่องจานทึบ 120 ซม. กับจานตะแกรง 150 ซม. รับ C-Band
เริ่มหัวข้อโดย: phot9724 ที่ 07, มิถุนายน 2021, 08:26:55 pm
จานอะลูมิเนียม จานไฟเบอร์กลาส และจานแบบตาข่าย

ไม่ว่าจะเป็นจานรับสัญญาณแบบใด ๆ ก็จะมีหลักการเดียวกันคือ รับสัญญาณจากดาวเทียมลงมาแล้วสะท้อนกลับขึ้นไปยังจุดเดียวกันซึ่งเรียกว่าจุดโฟคัล (Focal Point) สัญญาณที่มีกำลังอ่อน ๆ เมื่อพุ่งลงมากระทบพื้นที่ของจาน แล้วสะท้อนไปรวมยังจุดเดียวกัน จะมีผลทำให้สัญญาณแรงขึ้นมาได้ ไม่ว่าจะผลิตมาจากอะลูมิเนียม ไฟเบอร์กลาส หรือแบบตาข่ายก็ตาม สิ่งแรกที่จะต้องสนใจก็คือ ต้องมีส่วนโค้งที่ถูกต้องและมีลักษณะเป็นพาลาโบลิกเท่านั้น ก็สามารถรับสัญญาณได้แล้ว วิธีการผลิตก็คงต้องขึ้นอยู่กับโรงงานว่าจะใช้วิธีการแบบใด

สำหรับจานอะลูมิเนียมแบบทึบนั้น จะได้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าจานแบบไฟเบอร์กลาส หรือแบบตาข่าย จานอลูมิเนียมแบบทึบมักจะเคลือบด้วยสีที่มีคุณภาพไม่สะท้อนแสงเพราะหากสะท้อนแสงแล้วจะทำให้เกิดการรวมแสงเช่นเดียวกับคลื่นผลที่ตามมาก็คือ อุปกรณ์ LNB อาจจะพังหรือเสียหายก่อนเวลาที่ควรจะเป็นก็ได้ ส่วนเนื้ออะลูมิเนียมมักจะทำจากอะลูมิเนียมเกรดดีสามารถป้องกันการผุกร่อนจากสนิมออกไซด์ของอะลูมิเนียมได้ดี

ส่วนจานรับสัญญาณแบบตาข่าย ขณะนี้จะนิยมมากที่สุดเพราะไม่ทำให้เสียทัศนียภาพข้างหลังได้ แต่จานแบบตาข่ายนี้ค่อนข้างจะเกิดการเสียหายหรือผิดรูปได้ง่าย เนื่องจากเป็นโลหะที่มีรูพรุนจึงบอบบาง ดังนั้นการติดตั้งใช้งานแต่ละส่วนจึงควรจะเป็นไปตามคำแนะนำของผู้ผลิต ที่เน้นมากก็คือ ความเป็นส่วนโค้งพาราโบลิกของเนื้อจานจะต้องโค้งได้รูปตลอดเวลา วิธีเช็คง่าย ๆ โดยการใช้มือลูบที่ผิวของจานก็สามารถรู้ได้ว่า โค้งตลอดทั้งแผ่นหรือไม่ หากผิวของส่วนโค้งของแต่ละแผ่นไม่เป็นไปตามพาราโบลิกแล้ว จะทำให้คลื่นที่มาตกกระทบบางส่วนไม่พุ่งไปรวมที่จุดโพคัล สัญญาณก็จะมีความแรงลดลง

สำหรับจานแบบไฟเบอร์ ลักษณะทางโครงสร้างก็เหมือนกับจานทึบ และใช้กันค่อนข้างมาก จานแบบไฟเบอร์ที่เป็นมาตรฐานนั้น ภายในโครงสร้างของมันจะมีการฝังลวดตาข่ายเอาไว้ เพื่อใช้เป็นตัวสะท้อนสัญญาณจากดาวเทียม เพราะหากไม่มีลวดตาข่ายถักฝังเอาไว้ภายใน สัญญาณจะทะลุจานออกไปหมด ลักษณะของการผลิตจะใช้วิธีพ่นไฟเบอร์กลาสลงมาบนโมล แล้ววางลวดตาข่ายที่ทอหรือถักลงไป จากนั้นจึงฉีดไฟเบอร์กลาสทับลงไปอีกครั้งหนึ่ง

การจัดสร้างจานขึ้นมานั้น อาจจะทำเป็นชิ้นเดียวหรือหลาย ๆ ชิ้น แล้วนำมาประกอบเข้าด้วยกันก็ได้ แต่ความแน่นอนในเรื่องของประสิทธิภาพการสะท้อนของสัญญาณแล้วจานแบบชิ้นเดียวจะดีกว่า ส่วนจานที่แบ่งออกเป็นเสี้ยวแล้วมาประกอบกันจะมีข้อเสียตรงส่วนนี้แต่จะมีความแข็งแรงกว่าเพราะช่วงรอยต่อที่นำมาประกบกันจะกลายเป็นกระดูก หรือเป็นส่วนที่เสริมความแข็งแรงให้กับจาน อีกทั้งยังสะดวกต่อการขนส่ง และถอดเปลี่ยนได้ง่าย ในกรณีที่ชิ้นใดชิ้นหนึ่งเสียหาย ส่วนเรื่องของรอยต่อแต่ละชิ้นที่เป็นปัญหาในการสะท้อนของคลื่นนั้นถือว่ามีน้อยมาก(ขึ้นอยู่กับจำนวนชิ้นของจานด้วย) เมื่อเทียบกับพื้นที่ของจานทั้งหมด


หัวข้อ: Re: ถามเรื่องจานทึบ 120 ซม. กับจานตะแกรง 150 ซม. รับ C-Band
เริ่มหัวข้อโดย: tv59 ที่ 08, มิถุนายน 2021, 07:50:05 am
ส่วนตัวไม่ค่อยสนใจเรื่องพวกนี้ เขียนเอามัน เขียนให้ดูดี เขียนให้ดูมีหลักการ นั่งเขียนในห้องแอร์

ผมผ่านจุดนั้นมาไกลแล้ว ถูกข้อมูลพวกนั้นหลอกมายาวนานมากแล้ว

จนเลิกเชื่อ เลิกสนใจข้อมูลพวกนั้นไปนานแล้ว (ทุกวันนี้ ทุกอย่างต้องมีกราฟมีตััวเลขให้ดูถึงจะเชื่อ)

เช่น LNB 3.4-4.2 GHz  แต่รับ 2600MHz ได้ ในวงจรก็เขียนว่ามีวงจี BPF แต่ของจริงไม่มี

  พอ 5G(2600) ต้องเปลี่ยน LNB ทั้งประเทศ

สายอากาศ UHF Analog เขียนไว้ข้างกล่องว่ารับ CH 21-69 แต่ใช้งานจริง รัับ CH 52 ไม่ได้
 
  พอ DVB-T2 มา ต้องเปลี่ยนสายอากาศใหม่ทั้งประเทศเช่นกัน  ไม่ใช่แค่นั้นนะ ต้องเปลี่ยนวิธีการผลิตกันเลย

คือตำราเก่าหลักกาเดิมไม่สามารถทำให้รรับ25ได้ หรือก็คือ BW ไม่ถึงนัั้นเอง ต้องใช้หลักการใหม่ ตำราใหม่ในการผลิตและแค่นั้นไม่พอ

พอทำให้รับ CH 52  ได้ แต่รับ FM ได้ด้วย และรับ 700  900 1800 ได้ด้วย หรือก็คือ BW เกิน ไม่สามารถคุม BW ได้

ณ.วันนี้ ยังแก้ปัญหานี้ไม่ได้เลย คือแก้ที่สายอากาศไม่ได้ แต่เอา BPF มาใส่แก้ที่ปลานเหตุก็พอแก้ได้

และยังไม่จบแค่นั้น คุณเจอหรือไม่ก็ตาม มีเหตุเกิดขึ้นที่เชียงราย เสา 29e อย่างดี อย่างยาว รับสัญญาณ T2 ไม่ได้

  ช่างใช้เวลาทำและแก้ไขมา 2 ปี ปิดงานไม่ได้ แต่ไปจบที่ สายอากาศ LPDA ที่มีความยาวแค่ 80 CM

รับได้ครบทุก MUX รับได้แรงด้วย ติดต่ำกว่าด้วย ติดอยู่ิมหน้าต่างชั้น 2  (29e ขึ้นเสา 6 เมตร)

ยัังไม่จบแค่นั้น อีกเจ้าที่เชียงใหม่ เอา 14e ไปติดรับได้บางเวลา เพราะถูก 5G กวน เอา LPDA ไปใส่รรับได้ครบทุก MUX และนิ่งดูได้ตลอด

ที่เล่ามาทั้งหมดคือข้อมูลจากภาคสนาม มีกราฟให้ดูชัดเจน ไม่ใช่นั่งเขียนในห้องแอร์

*** แค่มาเล่ามาแบ่งปั่นประสบการณ์ ให้ฟังเฉยๆนะครับ


หัวข้อ: Re: ถามเรื่องจานทึบ 120 ซม. กับจานตะแกรง 150 ซม. รับ C-Band
เริ่มหัวข้อโดย: tv59 ที่ 08, มิถุนายน 2021, 08:02:59 am
ส่วนตัวไม่ค่อยสนใจเรื่องพวกนี้ เขียนเอามัน เขียนให้ดูดี เขียนให้ดูมีหลักการ นั่งเขียนในห้องแอร์

ผมผ่านจุดนั้นมาไกลแล้ว ถูกข้อมูลพวกนั้นหลอกมายาวนานมากแล้ว

จนเลิกเชื่อ เลิกสนใจข้อมูลพวกนั้นไปนานแล้ว (ทุกวันนี้ ทุกอย่างต้องมีกราฟมีค่าตัวเลขให้ดูถึงจะเชื่อ)

เช่น LNB 3.4-4.2 GHz  แต่รับ 2600MHz ได้ ในวงจรก็เขียนว่ามีวงจร BPF แต่ของจริงไม่มี

  พอ 5G(2600)มา ต้องเปลี่ยน LNB ทั้งประเทศ

สายอากาศ UHF Analog เขียนไว้ข้างกล่องว่ารับ CH 21-69 แต่ใช้งานจริง รับ CH 52 ไม่ได้
 
  พอ DVB-T2 มา ต้องเปลี่ยนสายอากาศใหม่ทั้งประเทศเช่นกัน  ไม่ใช่แค่นั้นนะ ต้องเปลี่ยนวิธีการผลิตกันเลย

คือตำราเก่าหลักการเดิมไม่สามารถทำให้รับ52ได้ หรือก็คือ BW ไม่ถึงนัั้นเอง ต้องใช้หลักการใหม่ ตำราใหม่ในการผลิตและแค่นั้นไม่พอ

พอทำให้รับ CH 52  ได้ แต่รับ FM ได้ด้วย และรับ 700  900 1800 ได้ด้วย หรือก็คือ BW เกิน ไม่สามารถคุม BW ได้

ณ.วันนี้ ยังแก้ปัญหานี้ไม่ได้เลย คือแก้ที่สายอากาศไม่ได้ แต่เอา BPF มาใส่แก้ที่ปลายเหตุก็พอแก้ได้

และยังไม่จบแค่นั้น คุณเชื่อหรือไม่ก็ตาม มีเหตุเกิดขึ้นที่เชียงราย เสา 29e อย่างดี อย่างยาว รับสัญญาณ T2 ไม่ได้ ณ.จุดนั้นไม่ได้

  ช่างใช้เวลาทำและแก้ไขมา 2 ปี ปิดงานไม่ได้ คือพยายามทำแล้วแค่พอดูได้ พอ 5G มา จบข่าวเลย หายหมดเลย ถูก5G กวน

  แต่ไปจบที่ สายอากาศ LPDA ที่มีความยาวแค่ 80 CM

  รับได้ครบทุก MUX รับได้แรงด้วย ติดต่ำกว่าด้วย ติดอยู่ที่ริมหน้าต่างชั้น 2  (29e ขึ้นเสา 6 เมตร)

ยัังไม่จบแค่นั้น อีกเจ้าที่เชียงใหม่ เอา 14e ไปติดรับได้บางเวลา เพราะถูก 5G กวน เอา LPDA ไปใส่รับได้ครบทุก MUX และสัญญาณนิ่งไม่ถูก5Gกวนดูได้ตลอด

ที่เล่ามาทั้งหมดคือข้อมูลจากภาคสนาม มีกราฟให้ดูชัดเจน ไม่ใช่นั่งเขียนในห้องแอร์

*** แค่มาเล่ามาแบ่งปั่นประสบการณ์ ให้ฟังเฉยๆนะครับ จริงๆมีอีกเยอะมากหลายเรื่องแต่เล่าแค่นี้ก่อนมันยาวมากแล้ว


หัวข้อ: Re: ถามเรื่องจานทึบ 120 ซม. กับจานตะแกรง 150 ซม. รับ C-Band
เริ่มหัวข้อโดย: tv59 ที่ 09, มิถุนายน 2021, 08:39:57 am
ขอเล่าเพิ่มอีกสักนิด กลัวจะหลงทาง จะเข้าใจผิดกัน

LNB 5G มี 3 รุ่นหลัก และอีก 1 รุ่นที่ไม่ OK.

3 รุ่นหลัก

มี 1 รุ่นเล็กคือมีฟิลเตอร์ 1 ชั้น

 2 รุ่นกลางมีฟิลเตอร์ 2 ชั้น

3 รุ่นใหญ่ มีชิลด์ 2 ชั้น

และรุ่นที่ไม่ OK มีภาคOUTPUT ตรงตามมาตรฐาน กสทช. คือความถี่950-1450 MHz

แต่ INPUT ไม่มีฟิลเตอร์เลย คือตัดสัญญาณรบกวนไม่ได้เลย งง ไหม 

หรือก็คือ ทางINPUTผ่านได้ตั้งแต่ 2500-4200 MHz  แต่ทาง OUTPUT กราฟที่เราเห็น 950-1450 MHz

เพราะวงจรมี 2 ส่วน ส่วนINPUTและ OUTPUT  ส่วน OUTPUT คือส่วนที่ทุกคนมองเห็นได้ ถ้าคุณมีเครื่องวัด สเปกตรัม

แต่คนส่วนมากจะไม่สามารถเห็นภาค INPUT ได้ ต้องปิดฝาออกมาถึงจะเห็น

เท่านั้นยังไม่พอ ในรุ่นเดียวกัน ยี่ห้อเดียวกัน ยังมีแยกคุณภาพออกมาได้หลายระดับ ตามที่ผมได้ลงไปให้ดูเป็นตัวอย่างไปแล้ว

ในตัวอย่างนั้นคือหัวเบอร์ 3 นะครับ คือแบบดี แบบแพง มีชิลค์ 2 ชั้น

*** ชิลค์ 2 ชั้น กับฟิลเตอร์ 2 ชั้นคนละอย่างกันนะครับ อย่าคิดว่าคืออย่างเดียวกัน

*** ตามรูปที่ผมลงให้ดู เบอร์ 1 เลิกนำเข้าแล้ว ต้นทุนสูงและกินกระแสสูงช่างส่วนใหญ่ใช้ไม่เป็น ตกม้าตายเต็มสนาม

เบอร์ 2 เป็นรรุ่นที่ดีที่สุด คุณภาพดีที่สุดตามข้อมูลในรูป แต่ต้นทุนสูง เลิกนำเข้าแล้วเช่นกัน(เฉพาะยี่ห้อนี้เท่านั้น)

เบอร์ 3 คือรุ่นที่ วางขายอยู่และคิดว่าจะจบที่รุ่นนี้ คงไม่ออกเบอร์ 4 มาแล้ว

ที่เล่ามานี้ของยี่ห้อเดียวเท่านั้นนะ ที่ทำแบบนี้ ยี่ห้ออื่นจะนำเข้าเบอร์ 2 มาขายเพราะเบอร์ 2 เป็นรุ่นที่ดีที่สุด

จบเรื่องของ LNB ขอต่อเรื่องสายอากาศอีกสักนิด ข้างบนผมบอกว่า ใช้ BPF พอแก้ปัญหาได้

*** ผมกลัวว่าจะเข้าใจผิด คือที่ผมพูดหมายถึงแก้ปัญหาปลายเหตุ และแก้ได้เฉพาะปัญหาเล็กๆ หมายถึง กวนไม่แรง

ถ้ากวนแรง  BPF แก้ไม่ได้นะครับ ต้องเปลี่ยนสายอากาศเป็นแบบ LPDA เท่านั้น

*** ข้อมูลนะตอนนี้นะ วันหน้าอาจมีสายอากาศรุ่นใหม่ออกมาก็ว่ากันไปแต่วันนี้ มีแค่ LPDA เท่านั้นที่เอาอยู่

จริงมีอีก 1 -2 ยี่ห้อที่สามารถทำแบบนี้ได้ แต่ผลิตมาแล้วไม่ติดตลาด เจ็บตัวกันไป คงไม่กลับมาทำอีก เพราะช่างส่วนใหญ่ไม่เปิดใจ

ยังใช้ยี่ห้อเดิมๆแบบเดิมๆ และที่สำคัญจุดที่กวนแรงๆก็มีไม่มาก ดังนั้นก็ไม่แปลกอะไรที่สายอากาศแบบเดิมๆยังขายได้อยู่

และช่างส่วนใหญ่ไม่มีสเปกตรัม จึงไม่เห็นกราฟ ว่ามันต่างกัน 

จบแล้วครับ ใครจะไปโลกใหม่ก็เปิดใจเดินตามมา ใครจะอยู่โลกเก่าก็อยู่ไป สวัสดีคับ


หัวข้อ: Re: ถามเรื่องจานทึบ 120 ซม. กับจานตะแกรง 150 ซม. รับ C-Band
เริ่มหัวข้อโดย: dacho ที่ 09, มิถุนายน 2021, 08:44:06 pm
หมายความว่า ตอนนี้ผู้ใช้จานดาวเทียมต้องเปลี่ยน LNB เป็นรุ่น 5G ทั้งหมดใช่หรือไม่


หัวข้อ: Re: ถามเรื่องจานทึบ 120 ซม. กับจานตะแกรง 150 ซม. รับ C-Band
เริ่มหัวข้อโดย: tv59 ที่ 10, มิถุนายน 2021, 09:29:35 am
ใช่ครับ

เปลี่ยนไปแล้วหลายแสนหัวครับ

ที่ยังไม่โดนกวนก็มี ตามต่างจังหวัด  ที่2600 ยังไปไม่ถึง

*** หัวใจไม่เกี่ยวกับ 2600 แต่เกี่ยวกับ LNB ไม่ควรปล่อยให้ 2600 เข้าไปได้***

เรื่องนี้เสียหน้า และหน้าแตกกันเยอะมาก ระดับใหญ่ๆทั้งนั้น พวกนักวิชาการทั้งหลาย ทุกท่าน บอกว่า 2600 ไม่กวนดาวเทียม

แต่พอออกอากาศเท่านั้นเหละ หน้าแตกยับเลย


หัวข้อ: Re: ถามเรื่องจานทึบ 120 ซม. กับจานตะแกรง 150 ซม. รับ C-Band
เริ่มหัวข้อโดย: tv59 ที่ 10, มิถุนายน 2021, 09:41:39 am
และที่แปลกกว่าน้่นคือ นักวิชาการบางท่าน ยังไม่เคยเห็นกราฟสัญญาณดาวเทียมเลย

ยังไม่เคยรู้เลยว่า ความถี่ 3400MHz ผ่าน LNB แล้วได้ IF เท่าไร

ผ่าน ฟิลเตอ์แล้ว กราฟจะเป็นแบบไหน

ไม่เคยรู้จักค่าฐาน Noise ของ LNB คืออะไร

ผมก็ งง มาก เป็นถึงหัวหน้า  เป็น อ. สอนด้วย

แต่ไม่เคยรู้ ไม่เคยเห็นกราฟสเปกตรัมของ LNB

*** นึกดีๆก็พอจะเข้าใจว่าสมัยที่ท่านเรียนเครื่องมือพวกนี้ยังไม่มี

และทุกวันนี้ ตามโรงเรียนส่วนมากก็ยังไม่มีเครื่องมือสมัยใหม่ ไม่มีสเปกตรัม ยังสอนแบบเดิมๆ มีแต่หลักการเดิมๆ ตำราเล่มเดิม(เล่มเก่า) เครื่องมือเดิมๆ


หัวข้อ: Re: ถามเรื่องจานทึบ 120 ซม. กับจานตะแกรง 150 ซม. รับ C-Band
เริ่มหัวข้อโดย: dacho ที่ 12, มิถุนายน 2021, 08:52:10 pm
เท่าที่อ่านข้อมูล ปัญหาการรบกวนสัญญาณอยู่ที่ การผลิตหัวรับ LNB ไม่ได้ตามมาตรฐาน

จึงทำให้ความถี่ที่ไม่ควรจะรับได้ กลับรับได้ ปัญหาจึงเกิดทันที

เสียดายว่า จานดาวเทียมที่ใช้อยู่ยังไม่เกิดปัญหานี้ ถามคนที่ใช้จานเหมือนกันอีกหลายคน

ก็ยังไม่มีใครมีปัญหานี้ ทั้งๆที่อยู่จังหวัดใหญ่ เลยยังไม่เห็นปัญหาด้วยตัวเอง


หัวข้อ: Re: ถามเรื่องจานทึบ 120 ซม. กับจานตะแกรง 150 ซม. รับ C-Band
เริ่มหัวข้อโดย: tv59 ที่ 13, มิถุนายน 2021, 07:39:48 am
ถือว่าคุณโชดดีมาก และเดาว่า 2600 ยังไปไม่ถึงครับ

(https://sv1.picz.in.th/images/2021/06/13/sBDop1.jpg)

รูปนี้คือความถี่ 674+LO 1830 = *2,504* เป็นความถี่ 5G ของ AIS มีความแรงที่ 105dB วัดที่หน้าจาน

(https://sv1.picz.in.th/images/2021/06/13/sBDlb2.jpg)

รูปนี้คือ LNB 3.4-4.2 GHz หรือก็คือ LNB รุ่นเก่า จะเห็นว่า LNB SATไปแล้ว

แค่ตัวอย่างเล็กๆน้อยๆครับ

*** ขอเล่าเพิ่มอีกนิด LNB นอกจากต้องใส่ FILTER แล้ว ยังต้องแก้ไขวงจรด้วยครับ

วงจรแบบเดิมๆต่อให้ใส่ FILTER ก็แก้ปัญหาไม่ได้ครับ หรือเรียกอีกอย่างว่าต้องออกแบบวงจรใหม่หมดเลย

วงจรแบบเดิมๆใช้ไม่ได้เลยครับ วงจรเดิมๆใส่ FILTER แล้วก็กวนเหมือนเดิมครับ


หัวข้อ: Re: ถามเรื่องจานทึบ 120 ซม. กับจานตะแกรง 150 ซม. รับ C-Band
เริ่มหัวข้อโดย: tv59 ที่ 13, มิถุนายน 2021, 12:43:58 pm
(https://sv1.picz.in.th/images/2021/06/13/sfWKae.jpg)

เอามาฝาก 1 รูป ให้ดูเป็นตัวอย่างครับ สัญญาณจาก LNB รุ่นเก่า 3.4-4.2 GHz


หัวข้อ: Re: ถามเรื่องจานทึบ 120 ซม. กับจานตะแกรง 150 ซม. รับ C-Band
เริ่มหัวข้อโดย: dacho ที่ 18, มิถุนายน 2021, 09:02:00 pm
ลักษณะการกวนสัญญาณเป็นแบบไหน และเป็นทุกช่องหรือไม่ครับ
 
ติด Banner ด้านล่างติดต่อ boransat@gmail.com
กระทู้ ความคิดเห็น บทความ ข้อความใด ๆที่ได้อ่านในบอรดนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแล ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและ ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย ศิลธรรม กรุณาแจ้งมาที่ boransat@gmail.com เพื่อที่ทีมงานจะได้ดำเนินการต่อไป