หัวข้อ: การเลือกซื้อ Harddisk สำหรับใช้งานกับเครื่อง HD-Player
เริ่มหัวข้อโดย: นายcopy ที่ 26, กุมภาพันธ์ 2010, 12:17:26 am
ลักษณะของ Harddisk ที่มีให้เลือกใช้งานก็จะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ
1. Internal Harddisk : Harddisk แบบใช้งานภายใน สำหรับติดตั้งไว้ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์/HD-Player โดยตรง เป็นแบบที่นิยมที่สุด เพราะราคาต่อความจุคุ้มค่าต่อการลงทุนที่สุดครับ แต่ Harddisk รูปแบบนี้ จำเป็นต้องใช้งานร่วมกับ HD-Player ที่สามารถติดตั้ง Harddisk ไว้ภายในได้ พร้อมทั้งยังต้องจ่ายกระแสไฟให้กับ Harddisk ได้เพียงพอต่อการใช้งานด้วยครับ
เครื่อง HD-Player จะมีทั้งที่สามารถติดตั้ง Harddisk ไว้ภายในได้โดยการขันน็อตยึดตรึงอยู่ภายในตัวเครื่องเลย มักจะรองรับ Harddisk ได้ 1 ลูก กับแบบที่ติดตั้ง Harddisk ผ่านช่องเปิดภายนอก ซึ่งสะดวกต่อการเปลี่ยน/ถอด Harddisk มากกว่าแบบแรก
ในกรณีที่ใช้งานร่วมกับเครื่อง HD-Player ที่ไม่สามารถเชื่อมต่อ Harddisk ไว้ภายในได้ Harddisk ลักษณะนี้ก็จำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมต่อ/ใช้งานผ่าน กล่อง Enclosure หรือ Harddisk Docking เพื่อใช้งานช่องเชื่อมต่อ และจ่ายกระแสไฟให้กับ Harddisk เหล่านี้แทนตัวเครื่องครับ
2. External Harddisk : Harddisk แบบใช้งานภายนอก จะมีราคาต่อความจุสูงกว่าแบบภายในอยู่เล็กน้อย แต่ความสะดวกคือ การที่มันพร้อมใช้งานได้ทันทีที่ออกจากกล่อง ตัว Harddisk จะมาในรูปแบบของกล่อง Enclosure ที่ติดตั้ง Harddisk อยู่ภายในเรียบร้อยแล้ว (ส่วนใหญ่จะเป็นกล่องปิดตาย ไม่สามารถเปลี่ยน/ถอด Harddisk ออกได้) และมักจะมีการเชื่อมต่อมาให้เพียงรูปแบบเดียว เช่น USB 2.0/eSATA/USB 3.0/Network Port
Harddisk แบบนี้ที่เป็นช่องเชื่อมต่อแบบ USB 2.0 จะมีราคาจำหน่ายที่ถูกที่สุด แต่เพราะการเชื่อมต่อด้วย USB 2.0 นั้น ทำให้การโอนถ่ายไฟล์ขนาดใหญ่จำนวนมาก เข้า/ออก ทำได้ค่อนข้างช้าเอามากๆ จึงไม่เป็นที่นิยมจะนำมาใช้งานร่วมกับเครื่อง HD-Player เท่าไรนัก (การเล่นไฟล์ผ่าน USB 2.0 ร่วมกับเครื่อง HD-Player ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด) และ Harddisk ภายนอกที่เชื่อมต่อด้วยช่อง eSATA หรือ USB 3.0 จะมีราคาที่สูงขึ้นไปอีก จนเขยิบเข้าไปใกล้เคียงกับราคา Harddisk ภายนอก + Docking แล้วนั้น จึงทำให้ผู้ใช้งานส่วนใหญ่นิยมเลือกใช้งานเป็นอย่างหลังมากกว่า เพราะในอนาคตหากมีการเพิ่มเติม Harddisk ใช้งาน ก็สามารถใช้งานร่วมกับ Docking เดิมได้เลย โดยไม่ต้องลงทุนในส่วนนี้เพิ่มเติมอีก
Harddisk แบบภายนอกนี้ จะนิยมนำมาใช้งานร่วมกับเครื่อง HD-Player ด้วยในกรณีที่มีอยู่เดิมแล้ว และยังไม่ต้องการลงทุนซื้อ Harddisk ใหม่เพิ่มเติม หรือเลือกใช้งานเป็น Harddisk ขนาด 2.5″ แบบพกพาแทน เพราะต้องการความคล่องตัว/ประหยัดเนื้อที่ในการใช้งาน อีกทั้ง Harddisk พกพาขนาดเล็กนี้ ยังไม่จำเป็นต้องพึ่งพาหม้อแปลงไฟภายนอก แต่สามารถใช้พลังงานจากช่อง USB ได้โดยตรง เลยมักนิยมนำไปดัดแปลงใช้งานภายในรถยนตร์ หรือไว้สำหรับพกพาไปพร้อมกับเครื่อง HD-Player เวลาเปลี่ยนที่ใช้งานบ่อยๆ ครับ
ขนาด Harddisk ที่เลือกใช้งาน ก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน : Harddisk ปัจจุบันนี้ มีขนาดให้เลือกใช้งานกันได้ตั้งแต่ 500GB / 1TB / 2TB ไปจนถึง 3TB กันเลยทีเดียว ที่นิยมใช้งานกันมากๆ ก็จะเป็นขนาด 2TB เพราะมีราคาต่อความจุคุ้มค่าการลงทุนที่สุด ส่วนขนาด 3TB ยังไม่ค่อยแพร่หลายเท่าไรนัก เป็นเพราะราคาต่อความจุแพงที่สุด และยังมีอัตราการบริโภคพลังงานที่สูงกว่ามาตรฐานของเครื่อง HD-Player บางรุ่นอยู่ด้วย จึงทำให้มีการเลือกใช้งาน Harddisk ขนาดนี้กันเป็นส่วนน้อย
ส่วน 500GB กับ 1TB จะไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไหร่ จะมีบ้าง สำหรับคนที่ไม่ต้องการพื้นที่การใช้งานมากนัก อย่างคนที่มีโอกาสต้องถอด Harddisk ออกไปสำเนาไฟล์ข้อมูลใหม่อยู่เรื่อยๆ ดูแล้วลบ ไม่ได้เก็บไฟล์ข้อมูลเก่าๆ ไว้ ก็มักจะเลือกใช้งานเป็นขนาด 500GB หรือ 1TB จำนวน 2 ลูก ไว้สลับกันใช้งาน เวลาที่ส่งลูกหนึ่งไปสำเนาข้อมูล ก็ยังมีอีกลูกหนึ่งไว้ใช้งานระหว่างรอได้ด้วย / และถ้าคำนึงถึงความร้อนสะสมภายในเครื่อง HD-Player การเลือกใช้งาน Harddisk ขนาด 500GB ก็ยังสามารถลดความร้อนสะสมในส่วนนี้ลงไปได้พอสมควรเลยครับ
ในส่วนของยี่ห้อ Harddisk ก็จะมีรายละเอียดปลีกย่อยในส่วนของราคาจำหน่าย/การรับประกันสินค้า/และรายละเอียดสินค้าแตกต่างกันไปอยู่เล็กน้อย ผมขอไม่ลงรายละเอียดในส่วนนี้แล้วกันนะครับ เลือกใช้งานกันได้ตามความชอบได้เลย
แต่มีข้อแนะนำเพิ่มเติมในส่วนของ Harddisk ขนาด 2TB ของ Western Digital ไว้สักนิด (เพราะเป็นรุ่นที่มีผู้นิยมใช้อยู่พอสมควร รวมถึงผมเองด้วย) รุ่นย่อยของ Western Digital จะถูกแบ่งด้วยสี เป็น ฟ้า/เขียว/ดำ โดยแบ่งออกตามลักษณะการใช้งาน Blue จะสำหรับการใช้งานทั่วๆ ไป / Black จะมีความเร็วรอบการหมุน และความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลที่สูงกว่ารุ่นอื่นๆ จึงเหมาะกับการนำไปใช้งานเป็น Harddisk ลูกหลักในคอมพิวเตอร์เพื่อติดตั้งระบบปฎิบัติการ และโปรแกรมการใช้งาน หรือใช้งานที่คำนึงถึงความรวดเร็วในการอ่าน/เขียนข้อมูลเป็นสำคัญ แต่ส่วนที่เป็นผลข้างเคียงก็คือ ความร้อนระหว่างการใช้งานก็จะสุงกว่ารุ่นอื่นๆ อยูด้วย
ในส่วนของรุ่น Green จะเน้นขนาดความจุที่ใหญ่ และมีความร้อนในการใช้งานที่ไม่สูงมาก มีการบริโภคพลังงานที่ต่ำ สำหรับใช้งานเก็บข้อมูลต่างๆ ได้เป็นอย่างดี จึงเป็นที่นิยมนำมาใช้งานร่วมกับเครื่อง HD-Player กันครับ
หัวข้อ: Re: What is "Hi-Def" ? : "ไฮเดฟ" คือ อะไร ?
เริ่มหัวข้อโดย: นายcopy ที่ 02, มีนาคม 2010, 04:35:45 am
หากจะกล่าวแบบรวบรัดเพื่อให้เข้าใจถึงความแตกต่างในภาพรวมแล้ว ระบบภาพของฟอร์แมท DVD มาตรฐานจะมีความละเอียดเส้นแนวนอนที่ 480 เส้น (480P) ในระบบ NTSC และ 576 เส้น (576P) ในระบบ PAL ซึ่งมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า Standard Definition (SD) มีสัดส่วนภาพทั้งแบบ Fullscreen และ Widescreen ส่วนระบบภาพแบบ High Definition (Hi-Def หรือ HD) มาตรฐานจะมีความละเอียดเส้นแนวนอนที่ 720 เส้น (720P) และ 1080 เส้น (1080P) โดยจะใช้สัดส่วนภาพแบบ Widescreen ทั้งหมด และอัตราบิตเรทที่ได้จะสูงกว่าฟอร์แมท DVD แบบเดิมๆมากแบบเทียบกันไม่ติด
Blu-ray เป็นเทคโนโลยีสำหรับการบันทึกข้อมูลลงแผ่น Blu-ray disc (BD) ซึ่งมีความจุในการเก็บข้อมูลสูงกว่า DVD หลายเท่า ถ้าเป็นแบบหน้าเดียว Single-layer จะมีความจุถึง 25 GB ถ้าเป็น Doble-layer ก็มีความจุเป็น 2 เท่านั่นคือ 50 GB วัตถุประสงค์หลักของเทคโนโลยีก็คือ การใช้สำหรับบันทึกไฟล์วีดีโอคุณภาพสูงที่เรียกว่า HD (High Definition)
Blu Ray ดีกว่า DVD อย่างไร ?
1. ความจุมากกว่า Single Layer Blu Ray มีความจุ 25 GB (DVD 4.7 GB) ส่วน Dual Layer Blu Ray มีความจุ 50 GB (DVD 8.5 GB)
2. ภาพระดับ High Definition คมชัดกว่า ความละเอียดภาพของ Blu Ray อยู่ที่ 1080P (1080 เส้น) ในขณะที่ DVD อยู่ที่ 576P (576เส้น) เรียกว่าชัดกว่า DVD แบบไม่เห็นฝุ่นเลยทีเดียว
3. เสียงระดับ High Definition ไม่มีการบีบอัด เสียง High Definition อย่าง Dolby True HD (ตัวท็อปของค่าย Dolby) และ DTS HD Master (ตัวท็อปของค่าย DTS) ซึ่งจะหาได้จากแผ่น Blu Ray เท่านั้น ซึ่งระบบเสียงแบบ High Definition (HD) เหนือชั้นกว่าระบบเดิมมากๆ
4. เครื่องเล่น Blu Ray สามารถเล่นแผ่น DVD ได้ แต่เครื่องเล่น DVD ไม่สามารถเล่นแผ่น Blu Ray ได้
Blu Ray มีข้อเสียอย่างไร ?
1. มีภาพยนตร์ออกมาน้อยกว่า DVD หากเทียบกับ DVD แล้ว Blu Ray ยังมีภาพยนตร์ออกมายังไม่มากเท่ากับ DVD แต่ภาพยนตร์ที่ออกมาจำหน่ายในฟอร์แมต Blu Ray ส่วนใหญ่จะเป็นภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่ระดับทำเงิน และระดับนักสะสม
2. ราคาแผ่นแพงกว่า DVD มาก แผ่น Blu Ray ยังคงแพงอยู่มาก ภาพยนตร์แบบ Blu Ray แผ่นละประมาณ 700-2500 บาท ส่วนแผ่นเปล่าแบบ Single Layer ความจุ 25 GB ราคาแผ่นละ 450-600 บาท
3. ราคาเครื่องเล่นแผ่น Blu Ray แพงกว่าเครื่องเล่น DVD มาก ปัจจุบันเครื่องเล่น Blu Ray มีราคาตั้งแต่ 15,000-30,000 บาท ซึ่งแพงมากเมื่อเทียบกับเครื่องเล่น DVD
จะดูภาพยนตร์แบบ High Definition แบบประหยัดได้อย่างไร ?
ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันท่านสามารถชมภาพยนตร์แบบ Hi-Def ได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้แผ่น Blu Ray และเครื่องเล่นแผ่น Blu Ray ซึ่งมีราคาแพงมาก เพียงท่านมี เครื่องเล่นไฟล์ Hi-Def ท่านก็สามารถชมภาพยนตร์ได้ด้วยระบบภาพ และเสียงแบบ Hi-Def ได้แล้ว อีกทั้งเจ้าเครื่องนี้ยังสามารถเล่นไฟล์ภาพยนตร์แบบ DVD ได้อีกด้วย และสัญญาณภาพจากไฟล์ภาพยนตร์ DVD ยังถูก Upscale ให้มีความคมชัดมากกว่าเล่นแผ่น DVD กับเครื่องเล่น DVD ทั่วไปหลายเท่า อีกทั้งภาพยนตร์ในรูปแบบไฟล์ภาพยนตร์ ยังมีราคาถูกกว่าแบบแผ่นมากๆ เรียกว่าคุ้มสุดๆจริงๆ
|
ติด Banner ด้านล่างติดต่อ
boransat@gmail.com
กระทู้ ความคิดเห็น บทความ ข้อความใด ๆที่ได้อ่านในบอรดนี้ เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ
ผู้ดูแล ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและ ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองด้วยตัวเอง และถ้าพบเห็นข้อความใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย ศิลธรรม
กรุณาแจ้งมาที่ boransat@gmail.com เพื่อที่ทีมงานจะได้ดำเนินการต่อไป
|
|
|